… กับดักราคาหุ้น … : จักษ์กฤช บำรุงตระกูล

ข้าพเจ้าตั้งใจจะเขียนบทความนี้ด้วยวัตถุประสงค์สองอย่างหลักๆ

หนึ่ง เพื่อเรียบเรียงความคิดของข้าพเจ้าเองให้เป็นระเบียบ

สอง เพื่อฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆต่อสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด

####

ช่วงที่ผ่านมาการลงทุนในหุ้น นับว่าให้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจอย่างสำหรับตัวข้าพเจ้า

ปีนี้แม้ว่าจะไม่ใช่ปีแรกในชีวิตการลงทุน แต่ก็ถือเป็นปีแรกที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้บริหารพอร์ตการลงทุนของตัวเองอย่างเต็มที่ ได้ซื้อ ได้ขาย ได้ลงทุน ตามความรู้ความเข้าใจ และวิจารณญาณของตัวเอง ประกอบกับช่วงนี้ตลาดหุ้นอยู่ในภาวะกระทิงหลังจากเพิ่งจะผ่านวิกฤติการเงินโลกมาได้ไม่นาน

พอร์ตของข้าพเจ้าจึงทำผลงานได้เกินกว่าเป้าหมายที่ข้าพเจ้าตั้งไว้

อย่างไรก็ดี หลายครั้งข้าพเจ้าเห็นโอกาสในการลงทุนที่มี Downside risk ต่ำ ในขณะที่มี Upside gain สูง แต่ข้าพเจ้ากลับพลาดโอกาสซื้อลงทุนหุ้นเหล่านั้นไป

สาเหตุเพราะ ข้าพเจ้าเจอกับอุปสรรคที่เรียกว่า ‘กับดักของราคาหุ้น’

ความหมายของ ‘กับดักราคาหุ้น’ ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าคือ

“การที่นักลงทุนไปสนใจกับราคาหุ้น มากกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของหุ้นนั้น”

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ กรณีที่ หุ้น ABC ขึ้้นมาจากต้นปี 30% นักลงทุนจำนวนมากอาจจะไม่กล้าซื้อลงทุน เพราะคิดว่าราคาหุ้นของหุ้น ABC นั้นได้ขึ้นมามากแล้ว

แต่ในความเป็นจริง การขึ้นมาของหุ้น ABC นั้นอาจจะยังต่ำกว่ามูลค่าที่มันควรจะเป็นอยู่มากมายก็ได้

สาเหตุก็มีหลายประการ เช่น อนาคตของหุ้น ABC สดใสมาก, Model ธุรกิจของหุ้น ABC เปลี่ยนไป ทำให้รายได้และกำไรเติบโตแบบสม่ำเสมอมากขึ้น หรืออาจจะเป็นกรณีอื่นๆอีกมากมายที่เป็นเหตุผลว่า หุ้น ABC ยังจะสามารถขึ้นได้อีก เพราะมูลค่าที่แท้จริงยังอยู่ในระดับสูงกว่าปัจจุบัน

เพราะการลงทุนในหุ้น คือ การมองไปที่อนาคต ไม่ใช่การมองไปที่อดีต

ด้งนั้น เราไม่ควรมองว่าหุ้นมันขึ้นมากี่ % แต่ควรมองว่ามันยังเหลือ Upside อยู่ % แล้วปรับให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้

เช่น ถ้ามี Upside เหลืออยู่ 20% เราอาจจะไม่ลงทุนเพราะ Upside น้อยเกินไป ในขณะที่ถ้ามี Upside อยู่ 40% แม้มันจะขึ้นมาแล้ว 100% เราก็อาจจะเลือกลงทุน

… กับดักราคาหุ้น …

จักษ์กฤช บำรุงตระกูล (Kornjackrit)

August 4, 2010

Author: admin

3 thoughts on “… กับดักราคาหุ้น … : จักษ์กฤช บำรุงตระกูล

  1. การลงทุนแนว VI เราจะมีการประเมินมูลค่าหุ้น ด้วยวิธีการต่างๆครับ

    เช่นใช้ PE Ratio, DCF , Dividend Model เป็นต้น

    ผมขอเพิ่มเติมเนื้อหาในบทความนิดหน่อยว่า

    ให้มองดู Downside ของหุ้นด้วย ไม่ใช่มองเฉพาะ Upside เท่านั้น

    เวลาที่หุ้นตกหนักๆ หรือลงแรงๆ อย่าเพิ่งคิดว่ามันลงมาเยอะ น่าจะถูกแล้ว แต่ต้องประเมิน Risk และ Downside ให้ดีก่อนเข้าไปช้อนซื้อครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.