‘บทเรียนจากหุ้นเทคฯปี 2000’ : โดย William O’Neil

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ผมเห็นในช่วงปี 1998-2002 เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากกลุ่มคนที่เฉลียวฉลาดที่สุดเท่าที่ผมเคยพบเจอ

ผมจำได้ครั้งหนึ่งว่ามี ดร. จบปริญญาเอก และมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงบอกผมว่า เขาซื้อหุ้น Cisco Systems ซึ่งเป็นหนึ่งในสุดยอดหุ้นของยุค 90s

ตอนที่มันร่วงลงมาแถวๆ 50 เหรียญ เพราะว่ามันเป็นบริษัทชั้นนำคุณภาพเยี่ยม

ผมได้แต่หวังว่าเค้าจะยอมละทิ้งความภาคภูมิใจในความคิดของตัวเอง และขายหุ้นทิ้งไปซะ

ก่อนที่หุ้นของบริษัทชั้นนำแห่งนี้จะร่วงต่อจนเหลือแค่ 8 เหรียญ

หรือแม้แต่นักลงทุนมืออาชีพก็หนีไม่พ้นการทำผิดพลาด เช่นเดียวกับที่มือสมัครเล่นทำ

ผู้จัดการกองทุนคนหนึ่งที่ผมรู้จัก ซื้อหุ้น WorldCom ที่ราคา 1.5 เหรียญ

เขามั่นใจมากว่ามันไม่น่าจะลงไปถูกกว่านี้แล้ว (หลังจากที่หุ้นร่วงลงมาจาก 64 เหรียญ)

แต่อันที่จริง ราคาหุ้นสามารถร่วงลงไปได้เรื่อยๆ และมันก็ลงต่อจริงๆ ครั้งล่าสุดที่ผมตรวจดู หุ้นเทรดอยู่ที่ 17 เซนต์ (0.17 เหรียญ)

คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยหรือที่ปรึกษาการลงทุน ต่างก็ต้องพบกับความเจ็บปวดจากตลาดขาลงช่วงปี 2000-2002

มันเป็นเพราะพวกเขาไม่เคยสนใจที่จะเรียนรู้กฏและหลักการลงทุนที่เหมาะสมกับตลาดหุ้น

เนื่องจากในช่วงขาขึ้นสิบปีก่อนหน้านั้น (ปี 1990-1999) พวกเขาคิดว่าได้ค้นพบวิธีทำเงินจากหุ้น โดยที่ไม่ต้องลงมือลงแรงอะไรมากนัก

แค่ซื้อหุ้นที่มีคนแนะนำ-อยู่ในกระแส , หุ้นที่มีคนเชียร์เยอะๆ , หุ้นที่มีสตอรี่หรือเรื่องราวน่าสนใจ แค่นี้ก็ทำกำไรได้แล้ว

พวกเขาไม่เข้าใจความเป็นจริงเรื่องของความเสี่ยงในตลาดหุ้น

ไม่มีวิธีปกป้องตัวเองจากการสูญเสียครั้งใหญ่

ไม่มีวิธีตรวจสอบภาวะตลาดที่จะช่วยบอกได้ว่า ตลาดกำลังเป็นขาขึ้นหรือเริ่มกลับตัวเป็นขาลง

และที่แย่ที่สุดก็คือ ไม่มีกฎสำหรับการขายหุ้นเลย!

นี่มันอะไรกัน? การที่ชีวิตดูดีและทุกอย่างดูง่ายมากซะจนทำให้เราขาดความระมัดระวัง และเริ่มประมาทเกินไป

แม้แต่ผู้บริหารบางบริษัทก็ยังคิดว่ามันไม่เสียหายที่จะโกหก , หลอกหลวง , และพูดโอ้อวดเกินจริง

เพราะทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คนในระดับผู้นำประเทศก็ทำเช่นกัน และก็ไม่เห็นว่ามันจะทำให้พวกเขาเสียหายตรงไหนเลย

มีความเชื่ออย่างหนึ่งในตลาดหุ้น นั่นคือ สิ่งที่คุณต้องทำมีแค่การช้อนซื้อหุ้นเทคฯทุกครั้งที่มันร่วงลงมา

เพราะว่าพวกมันจะเด้งกลับแล้ววิ่งขึ้นใหม่อยู่เสมอ

ความคิดเห็นที่ไร้เดียงสาเหล่านี้มีอยู่มากมาย เช่นเดียวกับเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ที่คอยให้คำแนะนำของพวกเขาทางหน้าจอทีวีอยู่ตลอดทั้งวัน

และความเห็นพวกนั้นก็ดูจะมีทฤษฎีที่สมเหตุสมผลมารองรับอยู่เสมอ

ปัญหามีแค่ว่าพวกมันใช้การอะไรไม่ได้เลย

สำหรับหลายๆคน การเข้ามาเล่นในตลาดหุ้นนั้นให้ความรู้สึกเหมือนการไปเล่นกีฬา หรือแค่หาอะไรทำฆ่าเวลาโดยที่มีคนเกือบทั้งประเทศเข้ามาร่วมเล่นด้วย

ตอนที่ผมไปออกกำลังที่ยิม ผมจำได้ว่ามีชายคู่หนึ่งกำลังดูถูกดูแคลนหุ้น Yahoo อยู่

ตอนที่หุ้นเพิ่งอยู่ในระยะแรกของการพุ่งขึ้นไปอีก 100 เท่าตัว

แต่พออีก 2 ปีต่อมา ผมเริ่มได้ยินชายสองคนคุยกันอย่างมั่นอกมั่นใจมากว่า สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้ได้กำไรก้อนโตคือ

‘ซื้อหุ้น Yahoo ทุกครั้งที่หุ้นปรับฐานหรือย่อตัวลงมา’

เห็นได้ชัดว่าพวกเขาพลาดหุ้น Yahoo ตลอดทางที่มันวิ่งขึ้นไปในช่วงปลายทศวรรษที่ 90s

และตอนนี้เมื่อหุ้นเริ่มดูชัดเจนสำหรับคนที่โรงยิมและผู้คนทั่วไป ราคาหุ้นก็จบรอบแล้วเริ่มถล่มลงมา

จากราคา 250 เหรียญ ในเดือนมกราคม ปี 2000 ลงมาเหลือแค่ 8 เหรียญ ในเดือนกันยายน ปี 2001

และกลุ่มคนที่โรงยิมก็แทบไม่คุยเรื่องหุ้นกันอีกเลย

นักลงทุนส่วนใหญ่ถูกทิ้งให้เรียนรู้ความจริงพื้นฐานของตลาดด้วยความเจ็บปวดว่า

; ความคิดเห็น , ความรู้สึก , ความหวัง , และความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับตลาดหุ้นนั้นมักจะผิด

และบ่อยครั้งที่มันมีอันตรายแฝงอยู่

ในทางกลับกัน ข้อเท็จจริง, แนวโน้มของ price-volume, และตลาดหุ้นนั้นมักจะไม่ผิดพลาด

กฏพื้นฐานของ demand/supply ใช้การได้ดีกว่าความเห็นของนักวิเคราะห์ทั้งหลายในวอลล์สตรีท หรือความเห็นของใครก็ตาม…

– William O’Neil –

*ตัวอย่างบทนำจากหนังสือ The Successful Investor ภาษาไทย

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.