เวลาเราอ่านหนังสือที่เซียนหุ้นเขียน มันมักจะดู simple เข้าใจง่าย
แต่ที่จริงมันคือการที่เค้าซึมซับ และเข้าใจความซับซ้อนของตลาดหุ้นมานานพอสมควร
ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงภาพใหญ่-ภาพเล็ก , การมอง index – หุ้นรายตัว – ไปจนถึงภาวะเศรษฐกิจ และจิตวิทยามวลชนในแต่ละช่วงเวลา
แล้วถึงเขียนสรุปย่อยออกมาให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ
ซึ่งจริงๆแล้ว หัวข้อเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขียนหรืออธิบายออกมาให้ชัดเจนยาก
เพราะมันเป็นเรื่องการรับรู้ความรู้สึก sensing , feeling , ประสบการณ์ที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน
ทำให้ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข หรือเขียนให้ครบตามที่ต้องการจะสื่อได้ทั้งหมด
โดยปกติแล้ว การ ‘รู้’ สิ่งต่างๆนั้นใช้เวลาไม่นาน (อ่าน / ฟัง)
แต่การที่คนๆหนึ่งจะ ‘เข้าใจ’ อะไรจนลึกซึ้งนั้นต้องใช้ระยะเวลา ในการสะสมข้อคิดและประสบการณ์ (wisdom)
เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้หนังสือระดับตำนานนั้นมีความคลาสสิคกว่าหนังสือทั่วไป
เพราะเวลากลับมาอ่านซ้ำ เราจะได้ข้อคิดอะไรใหม่ๆแทบทุกครั้ง
ถึงแม้จะเป็นหนังสือเล่มเดิมเนื้อหาเดิม แต่สิ่งที่ต่างไปจากเดิมคือตัวเรา
เป็นตัวเราที่มีบทเรียนมากขึ้น เริ่มเข้าใจตลาดมากขึ้น
ทำให้พอกลับมาอ่านซ้ำ ก็จะเห็นภาพตามที่คนเขียนต้องการสื่อออกมาได้ดีขึ้น
การอ่านรอบแรกๆเรามักจะเก็บได้ไม่หมด หรืออ่านข้ามหลายอย่างไป
โดยเฉพาะตอนที่เรายังใหม่อยู่ ไม่เคยเจอสถานการณ์ยากๆโหดๆมามากนัก
แต่สิ่งนึงที่ต้องระวังจากการอ่านหนังสือคือ ในชีวิตจริงมันจะไม่ได้เหมือนหนังสือเสมอไป
ในหนังสือเรามักจะเห็นแต่ตัวอย่างที่ดีที่สุด / แย่ที่สุด (best & worst case)
case study ที่ใช้ได้ผล ก็มักจะเกิดในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น
เช่น textbook pattern ที่หุ้น breakout ได้อย่างสวยงาม
หรือเห็นตลาดทำ bottom ไม่ยากนัก และเห็นแต่รอบที่สำเร็จ
แต่ในความเป็นจริง bottom process อาจต้องใช้เวลานานหลายเดือน หรือบางครั้งก็เป็นปี
ระหว่างทางมันก็จะยึกยักไปมา ถึงจะเกิด FTD ก็ fail ไปมาได้หลายต่อหลายครั้ง
หรือถ้าหนังสือ VI ก็มักจะหยิบเอาเฉพาะ case study ที่ลงทุนแล้วสำเร็จ ‘จำนวนหนึ่ง’ มาเป็นตัวอย่าง
แต่ก็ไม่ค่อยมีใครพูดถึงการลงทุนที่ผิดพลาด , นิ่งสนิท , ขาดทุนหนัก , กำไรหายหมด ฯลฯ อีกเป็นร้อยเป็นพันครั้งของแต่ละคน
ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอัดทฤษฏี , อ่านหนังสือหลายสิบเล่ม , และมีระบบที่ดูละเอียดซับซ้อนมากแค่ไหนก็ตาม
แต่ถ้าเราไม่กล้าพลิกแพลงตามสถานการณ์ เทรดไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และความเป็นจริงในตอนนั้น
มันก็จะใช้ไม่ค่อยได้ผล และก่อให้เกิดความสับสนตามมาอยู่เรื่อย (frustration)
การทำความเข้าใจ context และสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา จึงมีความสำคัญไม่แพ้การศึกษาจากตำรา
เราควรสังเกตเป็นระยะว่า ตลาดในปัจจุบันอะไรที่ยังใช้ได้อยู่ อะไรบ้างที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป และนำไปปรับจูนให้เข้ากับระบบของตัวเอง
การจะ flow ตามตลาดในสถานการณ์จริง (อย่างมีหลักการ) จึงต้องใช้ balance ระหว่างการเทรดตามตำรา/ทฤษฎี
ร่วมกับการเทรด & ปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อม และสิ่งที่ตลาดกำลังเป็นอยู่จริงๆครับ
…
.
Blog 111 : ‘หลักการที่เรียบง่าย เกิดจากความเข้าใจที่ลึกซึ้ง’
3 พฤศจิกายน 2022