ไม่ได้พบกันนานนะครับ ปี 2018 ผ่านไปแล้วครึ่งทาง หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะยังมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพพอร์ทที่เอาตัวรอดกันได้อยู่นะครับ
ก่อนอื่นเลยลำพังตัวเราไม่สามารถเปลี่ยนเทรนด์ของตลาดได้ด้วยตัวคนเดียวอยู่แล้ว สิ่งที่เราทำได้คือการอ่านเทรนด์หรือการเคลื่อนไหวของตลาด แค่ให้รู้ว่าตลาดตอนนี้ทิศทางเปลี่ยนไปจากเดิมแล้วหรือยัง จาก uptrend เป็น sideway หรือ เป็น downtrend? ซึ่งสังเกตได้ทั้งจากตัวหุ้นทั่วไปในตลาด หรือแม้กระทั่งตัวดัชนีเอง
(คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดเต็ม)
จากภาพถ้ามองด้วยตาเปล่าจะเห็นว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของตลาดนั้นมันเปลี่ยนไปจริงๆ แม้ว่าตลาดบ้านเราจะเปิดปี 2018 ด้วย New high แต่ก็ไม่สามารถทำ high ขึ้นไปได้อีกและค่อยๆทำ lower high และ lower low แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของตลาด ณ ขณะนั้น พร้อมกับค่อยๆเปลี่ยนจาก Sideway เป็น Downtrend ทีละน้อย
เมื่อสรุปได้ว่าเทรนด์ของตลาดเริ่มเปลี่ยนไป เทรดเดอร์เองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน เมื่อตลาดเริ่มอ่อนแอลง การซื้อหุ้น break out หรือแม้แต่ PPBP เองก็มีโอกาส fail ได้ง่ายขึ้น ทางเลือกที่ดีทางหนึ่งก็คือ “การหนี” ลด position หุ้นลง ถือเงินสด รอตลาดเปลี่ยนเทรนด์อีกครั้ง แค่นั้นก็เพียงพอที่จะทำให้คุณรอดพ้นจากตลาดขาลงได้ไม่ยากครับ แต่การหนีเองก็ไม่ใช่ทางเลือกเดียวเสมอไป
การทำกำไรจากตลาดขาลงนั้นมี 3วิธีพื้นฐาน คือ 1. Short TFEX 2. Put DW 3.Short หุ้นรายตัวผ่าน SBL ซึ่งจากประสบการณ์ของผม TFEX และ SBL นั้นมีปัจจัยต่างๆที่มีผลกับราคาน้อยกว่าตัว DW อย่างชัดเจน แต่ SBL ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับหุ้นที่เปิดให้ยืมมา short ได้มีจำกัดขึ้นอยู่กับแต่ละบ.หลักทรัพย์ ในกรณีของผมคือพอร์ทที่ดูแลไม่มี TFEX ทำให้ผมเลือกใช้ DW
ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้เมื่อปีก่อน โดยแนวคิดที่น่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ที่ผมได้เอามาประยุกต์ใช้มีอยู่ 6ข้อหลักๆ
1. การ Short หุ้นควรทำในตลาด Bear Market หรือ Downtrend เป็นหลักเพื่อลดความเสี่ยงในการ short
2. ควรเลือกหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงเพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคาหุ้น
3. เลือกตัวผู้นำของตลาดรอบนั้น candidate ในการ short ที่ดีก็คือหุ้นที่เป็นผู้นำตลาดมาจนจบรอบนั่นเอง
4. มองหาแพทเทิร์นของหุ้นอยู่เสมอๆ เช่น Head & Shoulders, late stage
5. อย่า short หุ้นที่หลุดแนวรับเป็นครั้งแรก Bullish sentiment จะพาหุ้นกลับมาเหนือแนวรับก่อนเสมอ
6. พยายามขายทำกำไรเรื่อยๆ ตั้งเป้าไว้ที่กำไร 20-30% และควรจะขาย Short ทันทีที่คนทั่วไปเริ่มหันมา short
ทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาคือหลักคร่าวๆที่ผมนำมาใช้ในตลาดขาลงรอบนี้
การ PUT Set50 ผมเลือก S5013P1806C โดยเริ่มทยอยเก็บที่จุด 1, 2 พอเห็นว่าตลาดลงแรงผมก็ตัดสินใจขายไปก่อนที่จุด 3 แล้วรอให้ตลาดขึ้นมาทดสอบเส้น 100ma และทยอยสะสมที่จุด 4 และ 5 และ 6
พอตลาดเริ่มไหลลงไปทดสอบกรอบล่างก็ทยอยขายไปที่จุด 7 และ 8 อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องคิดคือตัว S5013P1806C นั้นจะหมดอายุในเดือน 6 ผมจึงตัดสินใจขายทั้งหมด เพื่อสลับไป S5013P1809A แทนซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องหมดอายุมารบกวน
ต่อไป S5013P1809A ลูกศรสีเขียวคือวันที่ซื้อ สีแดงคือขาย ส่วนวันที่มีทั้งสองสี คือทั้งซื้อทั้งขายในวัน หลังจากขายตัวเดิมที่จะหมดอายุเดือน 6 ไป จะเห็นว่าตลาดเริ่มแกว่งอยู่ตรงกลางของ channel ใช้วิธีเดิมก็คือเก็บ 1% เพราะตลาดมีโอกาสไปทดสอบกรอบบนของ Channel ได้
แต่เมื่อตลาดอ่อนแรงอย่างเห็นได้ชัด ก็ทยอยสะสมและทำกำไรไปส่วนหนึ่งที่ channel ล่างเผื่อว่าตลาดยังคงขยับในกรอบเดิม แต่ก็ยังคง position ไว้เพราะมีความไปได้ที่ตลาดอาจจะ Break Channel ลงมา หลังจากที่ตลาด break ลงมาก็ follow buy ทันที
ทยอยขายทำกำไรในวันที่ตลาดลงแรงเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตัวตลาด แต่เมื่อเห็นว่าตลาดไม่มีแรงเด้ง ก็ค่อยๆทยอยเก็บคืนมาส่วนหนึ่ง ก่อนที่จะไปขายทำกำไรทั้งหมดเมื่อตลาดเริ่มส่งสัญญาณ rebound ออกมา
STEC เป็นหนึ่งใน candidate การ Short ของผม ด้วยแพทเทิร์นของกราฟหุ้นที่ V-shape ขึ้นมาระยะสั้น ในช่วงที่ตลาดค่อนข้างอ่อนแอ ส่วนมากมักจะไปได้ไม่ไกล
ผมเริ่มสะสม position ที่จุด 1-4 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นอยู่ใกล้ๆกับ 200MA โดยมองว่าโอกาสที่ STEC จะขึ้นต่อไปอีกมีไม่มาก แต่ก็ไม่เป็นไปตามนั้น STEC ยังขึ้นต่อไปอีก ทำให้ผมตัดสินใจลด position ไป 1/3 ที่จุด 5 เพื่อลดแรงกดดันลงและรักษา Mentality ของตัวเอง หลังจาก STEC ก็ลงมา ก็ขายทำกำไรทั้งหมดที่จุด 6 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ตลาดส่งสัญญาณว่าจะ rebound
IVL เป็น Candidate ที่ดีเช่นกัน เพราะค่อยๆขึ้นมาตลอด 8 เดือน เข้าข่าย Late Stage อย่างชัดเจน จากกราฟจะเห็นว่าหุ้นไม่สามารถทำ New High ได้ และ RSI ส่งสัญญาณ Bearish Divergent มาเป็นระยะ ผมค่อยๆเก็บ position ทีจุด 1-3
เมื่อเห็นว่า IVL ไม่สามารถทำ new high ได้ใน attempt ที่3 อาจารย์ O’neil ได้กล่าวไว้ว่า “หุ้นที่หลุดแนวรับครั้งแรกยังไม่ใช่จุด short ที่ดีที่สุด เพราะ Bullish sentiment ที่หลงเหลือมันจะพาขึ้นกลับมาก่อนเสมอ” ซึ่ง IVL ก็สามารถขึ้นมายืนเหนือแนวรับได้จริงๆ ผมจึงเพิ่ม Position ที่จุด 4-7 และทำกำไร 50% ของ position ที่จุด 8 ก่อนจะรับคืนมาที่จุด 9 และตัดสินใจขายทั้งหมดที่จุด 10
แม้จะเชื่อว่าหุ้นที่วิ่งมาเป็นระยะเวลานานมักจะต้องลงไปทดสอบ 200MA ก่อนเสมอ แต่เมื่อตลาดส่งสัญญาณ Rebound ผมจึงเลือกรักษากำไร และ Mentality ของตัวเองเป็นหลัก
ตัวสุดท้ายก็คือ AOT ครับ AOT ก็เช่นเดียวกับ IVL ที่วิ่งมาตลอดหลายต่อหลายเดือนจนสัญญาณจบรอบปรากฏ และมีแนวกดชัดเจนที่ช่วง 72-73บาท
จากนั้นจะเห็นว่า AOT ขยับตามตำราชัดเจน หลุดแนวรับครั้งแรกก่อนจะ rebound และลงต่อที่ 50MA, 100MA จนมาถึง 200MA และเด้งที่เส้น 200MA พร้อมๆกับที่ตลาดส่งสัญญาณ rebound
และนั่นก็คือสรุปการ Short ของผม จะเห็นว่าผมยังคงให้ความสำคัญกับความเสี่ยงและ Mentality เป็นหลักอยู่เหมือนเดิม แม้จะยังมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง และผมก็เชื่อว่ามีเทรดเดอร์อีกหลายๆท่านที่ทำได้ดีกว่านี้ ก็ถือเป็น Case Study สำหรับผู้สนใจนะครับ
จริงๆการ short ก็ไม่ได้ต่างจากการซื้อหุ้นเท่าไหร่นัก ถ้าหากคุณมีแนวทางการเทรดที่ชัดเจน มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องหนีตลอดไปในตลาด Downtrend
ท้ายที่สุดแล้วแม้การ short จะถือเป็นทางเลือกหนึ่งในตลาดขาลง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะ Short ได้ตลอด เช่นเดียวกับการเล่นหุ้นในตลาด Bullish เมื่อเทรนด์ที่ชัดเจนจบสิ้นลง จาก Downtrend กลายเป็น Choppy และ Sideway หรือ Trendless เพื่อพักฟื้นในที่สุด
โดยตลาดจะต้องใช้เวลาพักนานแค่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ เพราะ Trend ที่ดีและยืนยาวนั้นก็ต้องใช้เวลาในการสะสมพลังนานเช่นกัน สำหรับเทรดเดอร์แล้ว trend ของตลาดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถขัดขืนได้ สิ่งที่ทำได้คือการปรับตัวว่าเราจะเทรดอย่างไรในตลาดขาขึ้น/ลงครับ
…
‘How to make money selling shorts’ – ตัวอย่างการเทรดขาลงด้วย short/put [Case Study]
โดย PHANTORM
24 กรกฎาคม 2018