หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับชื่อของ Benjamin Graham ปรมาจารย์คนสำคัญ ผู้เขียนหนังสือระดับตำนานอย่าง ‘Security Analysis’ และ ‘The Intelligent Investor’
Graham เริ่มจัดตั้ง ‘Graham Corporation’ ห้างหุ้นส่วนการลงทุนของตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1923 และลงทุนโดยใช้หลักการที่เขาเชี่ยวชาญ
คือการทำ arbitrage , การซื้อหุ้นราคาถูกที่เทรดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง , และการขาย short หุ้นที่ราคาแพง หรือ overvalued
เมื่อ Graham Corporation ดำเนินการไปได้สองปี เค้าก็ขยับขยายเปลี่ยนเป็น ‘Benjamin Graham Joint Account’
โดยจะมีรูปแบบคล้ายกองทุน hedge fund มากขึ้น คือมีการหัก % จากกำไรที่ทำได้ในแต่ละปีด้วย
Dow Jones 1920-1929
รูปจาก https://leduc998.wordpress.com
ปี 1926 กองทุนของเขาทำกำไรได้ถึง 32% ในขณะที่ดัชนี Dow Jones ให้ผลตอบแทนเพียง 0.34%
ผ่านไปสามปี จากเงินลงทุนเริ่มต้น 450,000 เหรียญ เติบโตขึ้นไปจนถึง 2,500,000 เหรียญ
จนกระทั่งมาถึงปี 1929 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของตลาดขาขึ้นรอบใหญ่ในยุค 1920s
ในระหว่างปีนั้น กองทุนของ Graham ทำผลตอบแทนขึ้นไปได้ถึง 60% เมื่อเทียบกับ Dow Jones ที่ขึ้นไป 49.47%
แต่แล้วในเดือนสุดท้ายของปี 1929 เมื่อตลาดเริ่มกลับตัวลงอย่างรุนแรง Graham ได้ปิดสถานะ short จนหมด แต่ยังคงถือหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ (Convertible Preferred Securities) เอาไว้
โดยเขาคิดว่า ‘ราคาหุ้นนั้นต่ำเกินไป และ Mr. Market เริ่มพูดจางี่เง่า (ที่ให้ราคาหุ้นต่ำเกิน)’
การถือสถานะสวนตลาด ทำให้ผลงานปี 1929 กองทุนของเขาพลิกกลับมาติดลบ -20% ในขณะที่ดัชนี Dow Jones ก็พลิกกลับมาติดลบเช่นกันคือ -17%
Graham กำลังจะได้เรียนรู้บทเรียนครั้งสำคัญว่า Margins of safety นั้นไม่สำคัญในภาวะที่ตลาดกำลังโยนของทุกอย่างทิ้ง ไม่ว่ามันจะเป็นของที่มีค่าหรือไม่มีค่าอะไรก็ตาม
Dow Jones 1930-1939
รูปจาก https://leduc998.wordpress.com
เมื่อเข้าปี 1930 เขาเริ่มคิดว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดน่าจะผ่านพ้นไปแล้ว
จึงทุ่มซื้อหุ้น และยังใช้ margin เพื่อ leverage ด้วย เพราะคิดว่าจะทำกำไรได้มหาศาลจากการที่ราคาหุ้นร่วงลงมาจนถูกมากแล้ว
แต่กลับกลายเป็นว่า ‘The worst is not over’
ดัชนี Dow Jones เริ่มถล่มลงอีกครั้ง Graham จึงต้องพบกับปีที่เลวร้ายที่สุดของเขาคือ ติดลบถึง -50%
เนื่องจากเขากลับเข้าตลาดเร็วเกินไป ก่อนที่ตลาดจะ bottom out จริงๆ
และทำให้ในช่วง 4 ปีของตลาดขาลงครั้งใหญ่ (ปี 1929-1932) Graham สูญเสียเงินลงทุนไปกว่า 70%
ถ้าการที่นักลงทุนที่วิเคราะห์หุ้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนเช่น Graham ยังสามารถขาดทุนได้ถึง 70% เราก็ควรระมัดระวังและตระหนักไว้เสมอว่า ;
‘ถึงแม้หลักการ value investing นั้นจะเป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับการลงทุนระยะยาว แต่มันก็ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากความเสียหายครั้งใหญ่
เมื่อเกิดการพังทลายและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นได้’
แน่นอนว่าในที่สุด ตลาดขาลงก็สิ้นสุดลงและกลับมาฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งก็ทำให้พอร์ตของ Graham เริ่มฟื้นตัวและทำกำไรได้ตามภาวะตลาดอีกครั้ง
แต่จากความผิดพลาดและการขาดทุนอย่างหนักในช่วงขาลงครั้งนั้น ก็ถือได้ว่านี่เป็นบทเรียนครั้งสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตการลงทุนของเขา…
The lessons that Graham provided in the books, will live forever.
But we can also learn a lot from his failures.
.
The most important lesson is that value investing is not a panacea.
Cheap can get cheaper. Rich can get richer.
.
Margins of safety can be miscalculated, and value can fail to materialize.”
*สรุปเนื้อหาจากหนังสือ ‘Big Mistakes , The best investors and Their worst investments’
…
Blog 85 : ‘บทเรียนของ Benjamin Graham ในตลาดขาลงครั้งใหญ่’
21 มิถุนายน 2018