คนเล่นหุ้นทุกคนสามารถทำกำไรได้มากมายในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น เมื่อแรงจูงใจและสภาพคล่องผลักดันให้หุ้นเกือบทั้งตลาดขึ้นได้แรงโดยไม่จำเป็นต้องสนใจข่าวร้าย แต่เมื่อการปรับฐานรุนแรงเริ่มเกิดขึ้น จะมีเพียงกลุ่มคนบางส่วนในตลาดเท่านั้นที่จะสามารถรักษาเงินทุนและกำไรเอาไว้ได้”
สัญญาณอันตรายที่เมื่อเราเห็นแล้วต้องเริ่มระวังทันที
1. ตลาดเริ่มผันผวนรุนแรง และเกิด Distribution day มากขึ้นเรื่อยๆ
2. พฤติกรรมราคาของกลุ่มหุ้นนำตลาด ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่นำตลาดทั้งช่วงขาขึ้นและขาลง
3. ผลการเทรดที่เปลี่ยนแปลงของเราเอง ถ้าเราเล่นหุ้นด้วยหลักการเดิมและทำกำไรได้ดีมาตลอดแต่เมื่อผลการเทรดช่วงหลังเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ เราต้องตระหนักแล้วว่าตลาดกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง และอาจจะมีบางอย่างที่ไม่ดีหรือผิดปกติเกิดขึ้น
4. Sentiment โดยรวมของตลาดและผู้คน ตอนนี้คนสวนใหญ่ panic แล้ว หรือยังดูเฉยๆไม่รู้สึกว่าเกิดอะไรผิดปกติกับตลาด
5. เมื่อใดก็ตามที่ตลาดเทรดอยู่ต่ำกว่าเส้น MA 200 วัน มีโอกาส 1 ใน 3 (30%) ที่จะเกิดเหตุการณ์หรือข่าวไม่ดีที่ส่งผลรุนแรง
(เส้น MA 200 วันถือว่ามีนัยยะ เพราะบ่งบอกถึงแนวโน้มระยะยาว)
6. หุ้น setup สวยๆเริ่มน้อยลงอย่างมาก , หุ้นใน port และ watch list ของเราทยอยหลุดแนวรับทีละตัว
…
– ในช่วงแรกของการปรับฐาน คนส่วนใหญ่จะยังไม่รับรู้ว่าตลาดไม่ดี และคิดว่าคงไม่มีอะไรเหมือนกับครั้งก่อนๆ ทำให้พวกเขาปรับตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น (underreact)
และเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ตลาดร่วงลงอย่างรุนแรงต่อเนื่อง พวกเขาก็มักจะ panic แล้ว overreact มาขายหุ้นทิ้งในช่วงท้ายๆของตลาดขาลง (bottom process)
.
– การที่คนส่วนใหญ่ปรับตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็น แล้วไป panic sell ทีหลัง จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่เตรียมพร้อมรับมือเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว
*Market Bottom จะเกิดได้จากแรงซื้อจำนวนมาก มาสนับสนุนให้ตลาดและหุ้นเริ่มกลับตัวได้จริง (Follow-Through Day , หุ้นนำตลาด Breakout) ไม่ใช่เกิดจากแรงขายจำนวนมาก
*นอกจากนี้ กว่าที่ตลาดและหุ้นจะเกิด uptrend รอบใหม่แต่ละครั้งจะต้องใช้เวลานานพอสมควร
ถ้าช่วงไหนเราเห็นว่าหุ้นยังผันผวน-เหวี่ยงแรงมากอยู่ (high volatility) นั่นแสดงว่าการปรับฐานอาจจะยังไม่เสร็จดี
เพราะแนวโน้มที่ชัดเจนจะเกิดในช่วงที่ความผันผวนเริ่มน้อยลง ตลาดและหุ้นรายตัวจะไม่เหวี่ยงขึ้นๆลงๆรุนแรงมากนัก
.
– ถ้าตลาดยังผันผวนรุนแรงหรือ choppy อยู่ เราสามารถเลือกได้ว่า จะหยุดพักรอดูสถานการณ์ , เทรด size เล็กลง หรือเทรดระยะสั้นลง (ขายตามแนวต้าน – lock กำไรเร็ว) เพื่อรอให้เห็น trend ตลาดชัดขึ้นก่อน
รอดูว่าจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้หรือเปลี่ยนเป็นขาลงเต็มตัว ซึ่งจะมีผลต่อกลยุทธ์การเทรดของเราต่อไป
.
– การ short ในขาลง ไม่ควรคิดถือยาวเป็นหลัก เพราะตลาดมักจะมีช่วงเด้งแรงกลับไปหาแนวต้านเดิม (bear market rally) ซึ่งอาจจะทำให้กำไรที่ได้มาหายไปเกือบหมดได้
– การปรับฐานโดยมากแล้วมักจะกินเวลาไม่นาน ซักพักตลาดก็จะกลับตัวได้
แต่ถ้าหากตลาดปรับฐานนานแล้วยังไม่สามารถกลับตัวได้ ก็มีโอกาสที่จะเกิด bear market
โดยนิยามของ bear market คือ ตลาดที่เทรดอยู่ใต้เส้น MA 200 วัน ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
(ทุกครั้งที่ตลาดร่วงแรงและยาวนานมักจะเกิดเมื่อตลาดอยู่ใต้เส้น 200 วัน)
.
– ในช่วงตลาดขาลง ให้โฟกัสหุ้นที่แสดงตัวว่าแข็งแกร่งชัดเจน คือ ไม่ลงตามตลาด, ขึ้นสวนวันที่ตลาดลงแรง
เพราะถึงแม้ว่าตลาดเป็นขาลง แต่ก็พอจะมีหุ้นบางตัวที่ขึ้นสวนตลาดได้เป็นระยะ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี แม้ว่าจะเทรดยากกว่าช่วงปกติก็ตาม
…
โดยทั่วไปแล้วการปรับฐานจะมี 5 stage หลัก ได้แก่
1. ช่วงเริ่มต้นการปรับฐาน ตลาดจะเกิดการร่วงลงอย่างเร็วแรง ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ ทำให้ตลาดเริ่มติดลบประมาณ 5-10% หรือมากกว่านั้น
เกิดภาวะ oversold และตลาดปิดต่ำกว่า MA 200 วัน
2. การเด้งแรงๆในช่วงแรก หลังจากตลาด oversold โดยการเด้งในช่วงนี้ตลาดมักจะไปชนแนวต้านที่เส้น MA หลักๆ คือ MA 20 , 50 หรือ 200 วัน แล้วเริ่มลงต่อ
3. ภาวะตลาด choppy คือช่วงที่ตลาดผันผวนขึ้นลงรุนแรงสลับกัน โดยตลาดและราคาหุ้นรายตัวจะเหวี่ยงมากในแต่ละวัน
เป็นช่วงที่เทรดได้ยากมาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซื้อหรือขายก็ตาม
4. การทดสอบ low เดิมของตลาดที่เกิดขึ้นในข้อ 1 (retest of the momentum low) โดยมีจุดสังเกตที่สำคัญ ดังนี้
4.1 เริ่มเกิด divergence ในเชิงบวก เช่น ตลาดทำ new low แต่มีหุ้นทำ new low น้อยลง , ตลาด new low แต่มีหุ้น breakout หรือมีหุ้น setup ทำ base ดีๆมากกว่าเดิม (หุ้นส่วนใหญ่เริ่มไม่ลงตามตลาด) เป็นต้น
4.2 ถ้าตลาดเด้งแล้วไม่สามารถยืนได้ หลังจากการ retest low แสดงว่าเรามีโอกาสอยู่ในภาวะตลาดหมี (bear market)
หรืออย่างน้อยก็น่าจะต้องเจอการปรับฐานที่ยาวนานกว่าปกติ
5. recovery – ช่วงการฟื้นตัวของจริง ช่วงนี้ตลาดและหุ้นส่วนใหญ่จะเริ่มมีทิศทางเดียวกัน แรงซื้อจะมากจนตลาดและหุ้นพุ่งแรงๆโดยเฉพาะกลุ่มหุ้นนำตลาด
แม้จะเกิดภาวะ overbought แต่ตลาดก็จะไม่ลงแรงมากนัก
ช่วงนี้คนที่มัวรอตลาดย่อแรงๆหรือยังกลัวตลาดขาลงอยู่ ก็อาจจะพลาดการฟื้นตัวในระยะแรกได้
…
บทความนี้สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจจากหนังสือ ‘Crash’ – How to Protect and Grow Capital during Corrections นะครับ
ช่วงนี้หวังว่าทุกท่านจะโชคดีพอร์ตปลอดภัย
อย่าลืมว่าการเอาตัวรอดให้ได้เมื่อตลาดปรับฐานรุนแรงหรือช่วงขาลง คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นหุ้น
ค่อยๆดูอาการตลาดกับหุ้นในลิสไปก่อน ถ้าจะเทรดก็เทรดอย่างระมัดระวัง เน้นคุม risk ให้ดี อย่าเพิ่งโลภหวังกำไรเยอะๆ
แล้วกลับมาชนะกันอีกครั้งเมื่อตลาดฟื้นตัวครับ
…
Blog 58 : ‘Crash’ – แนวคิดการเทรดช่วงตลาดปรับฐานรุนแรง
11 ธันวาคม 2015