Blog 56 : ‘อย่ากลัวตลาดเกินไป’ – Tune out market & Tune in stocks!

เนื้อหาที่น่าสนใจจากหนังสือ Momentum Master ผมคิดว่าเหมาะกับลักษณะของหุ้นนำตลาดในช่วงนี้ดีครับ

Mark Mivervini ;

ผมจะมีโมเดลสำหรับการตรวจสอบความเสี่ยงของดัชนีตลาด ซึ่งมันจะช่วยให้ผมเข้าหรือออกจากตลาดได้ใกล้ๆกับจุดกลับตัวของมัน

แต่ส่วนใหญ่แล้วผมจะโฟกัสหุ้นรายตัว เพราะถ้าช่วงนั้นไม่มีหุ้นตัวไหนน่าเทรดเลย มันก็ไม่สำคัญว่า indicator หรือโมเดลตลาดของผมจะส่งสัญญาณอะไรออกมา

คุณอาจจะแปลกใจที่เริ่มเห็นผลการเทรดของคุณดีขึ้น เมื่อใส่ใจหุ้นรายตัวในลิสของคุณเป็นหลัก แทนที่จะไปสนใจดัชนีตลาด หรือข้อมูลข่าวสารต่างๆมากจนเกินไป”

*พี่ Mark ต้องการสื่อว่า การรับรู้ข่าวสารเยอะๆหรือกลัวตลาดมากเกินไป อาจทำให้เราพลาดโอกาสดีๆเมื่อมีหุ้นที่น่าสนใจ

หรืออาจจะกลัวจนรีบทำหุ้นหลุดมือ ทั้งๆที่หุ้นไม่ได้ลงตามตลาดอย่างที่เรากลัวไปเอง*

*Tune out the market and tune into the stocks!

David Ryan ;

คุณต้องระวังไม่ให้ดัชนีตลาดมีอิทธิพลกับคุณและทำให้รู้สึก bullish หรือ bearish มากเกินไป จนส่งผลกับการเทรดหุ้นรายตัวที่คุณถืออยู่

คุณอาจจะได้สัญญาณขายจาก indicators ของตลาด แต่ถ้าหุ้นของคุณยังยืนได้ดีคุณก็ยังไม่ควรขายมัน

คุณน่าจะเคยได้ยินสำนวนที่ว่า “อย่าทิ้งของที่มีค่ารวมไปกับของที่ไม่มีค่า”

แน่นอนว่าคุณต้องคอยตรวจสอบภาวะตลาด แต่อย่าให้ถึงจุดที่มันทำให้คุณตื่นตระหนกจนขายล้างพอร์ตทุกครั้งที่ indicators ของคุณส่งสัญญาณว่าตลาดเริ่มเป็นขาลง

ถ้าตลาดยังไม่ได้ดีมากนัก แต่เริ่มมีหุ้นน่าสนใจที่ผ่านเกณฑ์ของผม ผมอาจจะลองซื้อซัก 5% ของพอร์ตก่อน (ปกติเริ่มซื้อ 10%)

แล้วถ้าหุ้นเริ่มทำตัวดีอย่างที่คิดก็ซื้อเพิ่มจนครบที่ตั้งใจไว้

สาเหตุที่ต้องลองซื้อบ้างก็เพราะว่า มีหลายครั้งที่กลุ่มหุ้นนำตลาดจะเริ่มวิ่งกันล่วงหน้า ‘เป็นเดือน’ ก่อนที่ภาวะตลาดโดยรวมจะกลับมาดีอีกครั้ง”

*David Ryan ช่วงหลังมานี้เค้าจะเน้นซื้อตอนหุ้นย่อ (pull back) แทนที่จะซื้อตอน breakout นะครับ

เพราะตลาดยุคนี้ผันผวนมากขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น High-frequency trading , ข้อมูลข่าวสารที่เยอะและเร็ว ทำให้ราคาหุ้นในระยะสั้นเหวี่ยงมากกว่าในอดีต*

Dan Zanger ;

การเลือกซื้อหุ้นก่อนที่ตลาดจะเกิด FTD (ยืนยันขาขึ้น) นั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของราคาหุ้นและปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น

ถ้าเป็นหุ้นที่มีการเติบโตดีมาก (amazing earning) และ มี volume เข้ามาเทรดมากพอ ผมก็จะเริ่มซื้อหุ้นตัวนั้นก่อนที่ตลาดจะเกิด FTD

อย่างไรก็ตาม ผมจะยังไม่ซื้อจนเต็มจำนวน อาจจะซื้อซัก 50% ของที่ตั้งใจไว้ แล้วรอให้ตลาดหรือหุ้นนำตลาดตัวอื่นๆเริ่มทยอยขึ้นตามกันมา เพื่อเพิ่มความมั่นใจก่อนที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นเพิ่มอีก

อย่าลืมว่ามีหลายครั้งที่ FTD เกิดแล้วก็ Fail ..ดังนั้น มันก็อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เราต้องรอให้เกิดก่อนที่จะเริ่มซื้อหุ้นได้เสมอไป”

Ritchie II :

มี indicators สำหรับตลาดบางตัวที่ผมคอยจับตาดู เช่น advance-decline line, จำนวนหุ้นที่ทำ new highs และ new lows , ภาพรวมวอลุ่มของตลาด , อารมณ์ของคนในตลาด (sentiment) ฯลฯ

แต่ว่าผมไม่ได้ใช้มันเป็นเครื่องมือในการจับจังหวะเทรดหุ้น แต่จะดูเป็น indicators รองลงมา

เพราะปกติผมไม่ได้ซื้อดัชนีตลาด มีบางครั้งที่ผมจะ short ตลาดบ้าง แต่ก็ไม่ได้เกิดจาก indicators พวกนี้

indicator สองอย่างหลักที่ผมให้ความสำคัญคือ ผลการเทรดของผมและกลุ่มหุ้นในลิสของผม

ซึ่งบางครั้ง indicator นี้ก็จะเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับตลาดมาก และบางครั้งมันก็เคลื่อนไหวไปคนละทางกัน”

– Momentum Master บทที่ 6 ; ภาวะตลาด –

บทความนี้ผมแปลแบบสรุปให้อ่านง่ายๆนะครับ ดูต้นฉบับตามรูปข้างล่าง

เดี๋ยวจะทยอยเอาส่วนที่น่าสนใจมาลงให้อ่านกันอีกครับ แต่เล่มนี้เนื้อหาดีมากจริงๆ

แนะนำว่าควรซื้อเก็บไว้อ่านด้วยนะครับ

IMG_20150923_192036

Blog 56 : ‘อย่ากลัวตลาดเกินไป’ – Tune out market & Tune in stocks!

16 พฤศจิกายน 2015

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.