Blog 45 : “Winning Attitude” – ข้อคิดจากหนังสือ Trading in The Zone

 .

Trading in The Zone เป็นหนึ่งในหนังสือคลาสสิคที่เซียนหุ้นและ trader ระดับโลกหลายคนต่างก็แนะนำว่า เหมาะสำหรับการฝึกจิตใจและปรับทัศนคติให้เหมาะสมกับการลงทุน-การเทรดมากที่สุด

เนื่องจากในหนังสือมีเนื้อหาที่เยอะและกว้างพอสมควร ในบทความนี้ ผมจึงนำข้อแนะนำที่น่าสนใจมาบางส่วนเท่านั้น

แนะนำให้ทุกท่านลองหาซื้อมาอ่านดูนะครับ เพราะเป็นหนังสือที่ช่วยเรื่องทัศนคติในการเทรดได้ดีจริงๆ…

(ประโยคที่คัดมาผมคิดว่าศัพท์แปลไม่ยากมาก เลยไม่ได้แปลไว้ทั้งหมดครับ)

####

สิ่งสำคัญที่จะชี้วัดความสำเร็จในระยะยาวของ trader หรือนักลงทุนแต่ละคน ไม่ได้อยู่ที่ความรู้หรือหลักวิชาการ เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันหมด

เช่น การแกะงบการเงิน การดูกราฟ หรือดู indicator ต่างๆ ซึ่งเมื่อเราได้เรียนได้รู้แล้ว ก็จะพบว่าคนอื่นเขาก็สามารถรู้เหมือนกับที่เรารู้ได้เช่นกัน

โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็วมาก

ดังนั้น ปัจจัยที่ทำให้เราแต่ละคนแตกต่างกันจริงๆก็คือ ทัศนคติ (attitude) , ความเชื่อ (belief) และการควบคุมอารมณ์ในการลงทุนเมื่อต้องเจอกับความไม่แน่นอนของตลาด (uncertainty) 

สิ่งเหล่านี้จะตัดสินว่าเราจะประสบความสำเร็จในตลาดได้หรือไม่นั่นเอง

Trading presents us with a fundamental paradox : How do we remain disciplined, focused, and consistent in the face of constant uncertainty?

แต่เมื่อพูดถึงเรื่องของจิตใจและความเชื่อ มันก็เป็นสิ่งที่สอนกันได้ยาก เพราะว่าการรับรู้และการตอบสนองของแต่ละคนนั้นก็จะต่างกันไปตามลักษณะบุคลิกภาพ และพื้นฐานต่างๆของแต่ละบุคคล

ซึ่งจุดนี้คือความสำคัญว่าทำไมเราจึงจำเป็นต้องฝึกจิตใจให้มีทัศนคติที่เหมาะสม หรือที่ผู้เขียนเค้าใช้คำว่า ‘Winning Attitude’

โดยในหนังสือเริ่มจากการเกริ่นนำถึงข้อผิดพลาดต่างๆที่คนส่วนใหญ่เป็นกัน เป็นความผิดพลาดที่เกิดมาจากการหลงตัวเอง ความโลภ ความกลัว

.

เช่น ซื้อเยอะเกินไปโดยไม่ดูความเสี่ยง หรือไม่ว่าจะเป็นการกลัวคิดผิด กลัวขาดทุน กลัวตกรถ และกลัวขายหมู

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ถือเป็น common fear โดยทั่วไปของคนเล่นหุ้นนั่นเอง

Ninety-five percent of the trading errors you are likely to make will stem from your attitudes about being wrong, losing money, missing out, and leaving money on the table. What I call the four primary trading fears.

“It’s when you’re winning that you are most susceptible to making a mistake, overtrading, putting on too large a position, violating your rules, or generally operating as if no prudent boundaries on your behavior are necessary.
.
You may even go to the extreme of thinking you are the market. However, the market rarely agrees, and when it disagrees, you’ll get hurt. The loss and the emotional pain are usually significant.”
เมื่อเกิดความกลัว หรือมีทัศนคติที่ผิด มันจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการลงทุนที่ผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง (trading error) เช่น ซื้อขายบ่อยเกินไป (overtrading) , ซื้อมากเกินไป (putting on too large a position) , ซื้อน้อยเกินไป , ลังเลไม่เข้าซื้อหรือไม่รีบตัดขาดทุนตามแผน (violating your rules) , รีบขายหมูเพราะกลัว เป็นต้น
.
ซึ่งผลจากการทำผิดพลาดเหล่านี้จะทำให้ trader คนนั้นไม่สามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอและไม่ประสบความสำเร็จในระยะยาว เพราะในการลงทุนนั้นความสม่ำเสมอคือสิ่งที่สำคัญมาก

The reason we aren’t consistently successful is because of the way we think.

วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่การหาระบบลงทุนที่ perfect หรือต้องไปหา indicator ที่แม่นยำ 100%

เนื่องจากว่าพวกมันไม่มีอยู่จริง แต่มันคือการที่เราต้องปรับทัศนคติ หรือ mind-set ของตัวเองให้ถูกต้องเหมาะสมต่างหาก

attitude

Attitude produces better overall result than analysis or technique, because if you have the right attitude – the right mind-set – then everything else about trading will be relatively easy, even simple, and a lot more fun.

.

What makes trading so fascinating and, at the same time, difficult to learn is that you really don’t need lots of skills ; you just need a genuine winning attitude.

เมื่อเริ่มมีหลักการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเราแล้ว สิ่งสำคัญหลังจากนั้นก็คือ ‘การปรับปรุงทัศนคติในการเทรด’ โดยในเบื้องต้นนั้น สิ่งที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ

1) ต้องเข้าเทรดโดยไม่กลัวเกินเหตุ และอย่ามั่นใจมากเกินไป มีความสมดุลในแต่ละการเทรด (to trade without fear or overconfidence)

2) รับรู้ได้ว่าตลาดกำลังบ่งบอกหรือนำเสนออะไรเราอยู่ในภาพรวม (perceive what the market is offering from its perspective)

3) เตรียมพร้อมและโฟกัสไปที่โอกาส ณ ขณะนั้น ในช่วงเวลานั้นๆ (stay completely focused in the ‘now moment opportunity flow’)

>> ข้อ 3 นี้ต้องขึ้นอยู่กับ timeframe ของแต่ละคนด้วยนะครับ บางคนดูสัญญาณจากกราฟนาที , กราฟ day บางคนก็อาจจะใช้สัญญาณภาพใหญ่จากกราฟ week – month เลย

และ 4) เข้าสู่การเทรดในโซนของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ กล่าวคือ ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่าสุดท้ายผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร

แต่ตราบใดที่การเทรดนั้นยังอยู่ในมุมมองที่เราถนัดหรือเรายังได้เปรียบอยู่ เราก็ต้องมั่นใจในความเชื่อและหลักการของตัวเอง จิตใจต้องไม่ไขว้เขวสั่นคลอนง่ายๆครับ

(spontaneously enter the ‘zone’ , it is a strong virtually unshakeable belief in an uncertain outcome with an edge in your favor.)

The best traders aren’t afraid because they have developed attitude that give them the greatest degree of mental flexibility to flow in and out of trades based on what the market is telling them.

เมื่อเราเริ่มเข้าใจและสามารถปรับทัศนคติให้เป็นไปตามที่ผู้เขียนแนะนำ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงก็คือ

– มันจะทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งสำคัญมาก เพราะถ้าเราไม่เชื่อมั่นในตัวเองก็คงจะไม่สามารถทำอะไรได้สำเร็จ

– ไม่กลัวอนาคต ไม่วิตกเรื่องในอดีต อยู่กับปัจจุบัน

– ไม่ทำผิดพลาดบ่อยเกินไป เพราะเราพยายามทำตามแผนอย่างสม่ำเสมอ

– ที่สำคัญคืออยู่ใน zone และพร้อมที่จะเคลื่อนไหวไปตาม flow ของตลาดอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีการคิดไปเอง หรือมี bias ครับ

ทัศนคติเหล่านี้คือสิ่งที่เทรดเดอร์เก่งๆมีกัน บางคนอาจจะมีติดตัวมาตั้งแต่แรก หรือได้มาจากการฝึกฝนอย่างหนักครับ

“The winners have attained a mind-set that allows them remain disciplined, focused, and confidence.”

.

“When you stop making trading errors, you’ll begin trusting yourself. The greater your confidence, the easier it will be to execute your trades.”

.

“The best traders stay in the flow because they don’t try to get anything from the market; they simply make themselves available so they can take advantage of whatever the market is offering at any given moment.”

.

“They’re in the flow, because they’re perceiving an endless stream of opportunities, and when they’re not in the flow, the best trader can recognize that fact and then compensate by either scaling back or not trading at all.”

นอกจากทัศนคติในเบื้องต้นนี้แล้ว ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมชอบมากนั่นก็คือ ผู้เขียนแนะนำให้เรามองการลงทุนหรือการเทรด นั้นเป็นเหมือน probability game หรือเกมความน่าจะเป็นอย่างนึง

จุดเด่นของการคิดแบบความน่าจะเป็นก็คือ การที่เราต้องยอมรับผลของการเทรดได้ทุกรูปแบบ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเข้าเทรดได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปกลัวก่อนว่า สุดท้ายแล้วเราจะถูกหรือผิด

เพราะว่าผลลัพธ์ของการเทรดแต่ละครั้งนั้นมีความไม่แน่นอน หรือเป็น unique outcome

ถ้าลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพ – มีหุ้นเข้ามาในระบบของเรา 2 ตัว หุ้น A เราชอบเพราะคิดว่าพื้นฐานดี อีกตัวหนึ่งหุ้น B ไม่ค่อยชอบเพราะพื้นฐานดูไม่ดีเท่าหุ้น A

บ่อยครั้งที่เรามักมองว่าหุ้นตัวนี้ต้องดีกว่าหุ้นตัวนั้น นั่นเป็นเพราะว่าเรากำลังมี bias และคิดไปเองล่วงหน้าว่าหุ้นตัวไหนดีกว่าและจะต้องขึ้นก่อน

แต่สุดท้ายหุ้นตัวที่เราไม่ค่อยชอบนั้นกลับขึ้นไปอย่างมาก ในขณะที่หุ้นที่เราชอบมากกว่ากลับไม่ไปไหนหรือยังลงมาทำให้เราขาดทุนอีกด้วย

ถ้าเรามี bias หรือไม่ยอมเทรดหุ้นที่เข้าระบบอย่างเท่าเทียมกัน ก็จะทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้กำไร และบางครั้งอาจจะขาดทุนอีกด้วย ถ้าหากไม่ยอมรับว่าเราผิด

(อย่าลืมว่าคนส่วนใหญ่ก็มักจะขาดทุนหนักจากหุ้นตัวที่เขามั่นใจมาก)

การเทรดแต่ละครั้งจะเกิดความน่าจะเป็นและผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปเสมอ นี่จึงเป็นความสำคัญของการคิดแบบ probability game นั่นเอง…

“To think in probabilities, you have to believe that every moment in the market is unique, or every edge has a unique outcome.”

.

“Traders who have learned to think in probabilities are confident of their overall success, because they commit themselves to taking every trade that conforms to their edge. They have learned that they don’t know in advance which trade are going to work and which ones aren’t.”

.

“When you really believe that trading is simply a probability game, concepts like right and wrong, or win and lose, no longer have the same significance. As a result, your expectation will be in harmony with the possibilities.”

สุดท้ายแล้ว เมื่อเรามีทัศนคติที่ดีขึ้นและเริ่มมองการเทรดอย่างความน่าจะเป็นแล้ว ข้อสรุปและมุมมองที่เรามีต่อการลงทุนในตลาดก็จะเป็นประมาณนี้ครับ

(1) การที่จะทำเงินจากตลาด เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต  (you don’t need to know what’s going to happen next to make money)

(2) อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ  (anything can happen)

(3) ในช่วงเวลาต่างๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและผลลัพธ์ของมันจะแตกต่างกันไปเสมอ ดังนั้น การเทรดแต่ละครั้งอาจจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

(every moment is unique, meaning every edge and outcome is truly a unique experience. The trade either works or it doesn’t.)

.

Traders in the “zone” don’t need to know – and don’t care – what the market is going to do next. They know what they are going to do next. And that makes all the difference.

.

“Most important, by establishing a belief that anything can happen, he will be training his mind to think in probabilities.”

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อคิดและข้อแนะนำคร่าวๆที่ผมคิดว่าน่าสนใจ ในหนังสือยังมีรายละเอียดและตัวอย่างอีกพอสมควรครับ เป็นหนังสือที่น่าเก็บสะสมไว้จริงๆ

Consistency as a trader does not depend upon your knowledge of market behavior, but rather upon a very unique mind-set.

สุดท้ายนี้ ขอจบด้วย quote ที่เหมาะกับหนังสือเล่มนี้พอดี เจอโดยบังเอิญจากเวบ pantip เลยตัดมาแปะประกอบบทความครับ

atti

Note 2023 ;

ข้อคิดสำคัญจากหนังสือ trading in the zone ที่ยังคงใช้ได้อยู่ตลอด

– การมองตลาด-หุ้นแบบความน่าจะเป็น ไม่คิดแบบตายตัว หรือมองแค่ถูก-ผิด 100%

– อะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาดการเงิน สิ่งที่ไม่เคยเกิด ไม่เคยเห็นก็จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ

– every moment is unique อดีตดูไว้เป็นแนวทางคร่าวๆ ปัจจุบันตลาดจะไม่ซ้ำรอยอดีตเป๊ะๆ

(คล้ายกันในภาพใหญ่ แตกต่างกันในภาพเล็ก – context)

– สิ่งสำคัญคือการรับรู้ว่า ตลาดกำลังบอกอะไรเราอยู่ในช่วงเวลานั้น

และพร้อมเปลี่ยนความคิด ปรับพอร์ตตามที่ตลาดส่งสัญญาณออกมาครับ

Blog 45 : “‘Winning Attitude’ – ข้อคิดจากหนังสือ Trading in The Zone”

20 เมษายน 2014 , Updated 2023

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.