Blog 37 : ‘Live longer & Perform better’ – ต้องรอด!

 

‘บทเรียนและประสบการณ์’ ของคนที่อยู่ในวงการมานาน ผ่านเหตุการณ์ที่ดีและร้ายมาได้ เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาได้เปรียบมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นอย่างมาก ทั้งในแง่ของฝีมือ ความเก๋าเกม การวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

การอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว หรือเสียเงินไปเรียนคอร์สแพงๆ ก็ไม่อาจเทียบเท่าปัญญาที่ได้มาจากข้อผิดพลาด และบทเรียนของการฝึกฝนด้วยตนเอง

 

“ตอนนี้อายุผมเกือบ 50 ปีแล้ว ประสบการณ์ไม่เหมือนเด็กหนุ่มที่มีพลัง วิ่งทั้งวัน แต่ไม่ได้อะไรเลย แต่เสือเฒ่าอย่างเราจะรู้ว่าต้องวิ่งแค่ไหน อยู่ตรงไหนถึงจะได้ภาพ เสือหนุ่มที่วิ่งล่าเหยื่อทั้งวันอาจจะได้เหยื่อตัวเล็กๆ แค่นั้น แต่เสือเฒ่ามันรู้ว่าเวลานี้ต้องไปดักรอลูกกวางที่หนองน้ำ แล้วจะได้กินเนื้อกวางนุ่มๆ นี่คือความต่างครับ”

– วินัย ดิษฐจร, ช่างภาพอิสระ –

แต่การที่เราจะมีประสบการณ์อย่างโชกโชนได้นั้น สิ่งสำคัญอย่างแรกที่เราต้องทำคือ..

‘เอาตัวรอดให้ได้ในทุกสถานการณ์ อย่าพลาดเสียหายหนักจนกลับมาไม่ได้ เพราะเป้าหมายของเราคือ ต้องอยู่เพื่อฝึกฝนและเก็บประสบการณ์ต่อไปในระยะยาว รวมถึงสามารถสะสมผลตอบแทนให้งอกเงยตามที่หวังด้วย’

ยิ่งเราอยู่รอดได้นาน ก็ยิ่งมีประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ..

ประสบการณ์ที่มากขึ้น จะทำให้ได้เปรียบเรื่องของความเก๋าเกม และ การมีสัญชาตญาณในสายงานนั้น ซึ่งสองปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยที่ช่วยให้เราทำผลงานดีสม่ำเสมอ และเอาตัวรอดได้ในระยะยาว

ตารางนี้บอกว่า เมื่อเราขาดทุน จะต้องทำกำไรกี่ % เพื่อให้กลับมาเท่าทุนครับ

Recovery to Loss Ratio

 

เรามักได้ยินอยู่ตลอดว่า สิ่งที่เซียนหุ้นชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะลงทุนด้วยหลักการแบบไหนต่างก็ให้ความสำคัญกับ ‘การปกป้องเงินลงทุน’ ไม่ใช่ ‘มุ่งหวังกำไรสูงสุด’ เพราะการพลาดขาดทุนหนัก จะทำให้การกลับมานั้นยากขึ้นเรื่อยๆ ที่หลายคนพลาดหนักจนกลับมาไม่ได้หรือกลับมาได้ช้า ก็เพราะไม่คำนึงถึงจุดนี้นั่นเอง

ทั้งสายพื้นฐานหรือสายกราฟ ต่างก็มีวิธีจัดการกับความเสี่ยงในแบบของตัวเอง

สำหรับสายพื้นฐานนั้น ารป้องกันความเสี่ยงคือ การซื้อธุรกิจที่ดี ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า ต้องมี margin of safety หากว่าหุ้นไม่ดีอย่างที่คาด เพราะ margin of safety นั้นเปรียบเหมือนการที่เราทำประกันไว้ส่วนหนึ่งว่า ระดับราคาที่เราซื้อมานั้นค่อนข้างปลอดภัยพอสมควรแล้ว ไม่ไปไล่ซื้อหุ้นที่แพงมาก หรือช่วงที่ตลาดบูมมากๆนั่นเอง

หรือหลายท่านก็เน้นไปที่การเลือกซื้อบริษัทที่มีโมเดลธุรกิจดีเยี่ยม สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าในระยะยาวราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นตามผลประกอบการของบริษัท แม้ว่าระยะสั้นราคาจะผันผวนไปตามภาวะตลาดก็ตาม

“ปกติผมมักเริ่มต้นจากความกลัวก่อน เมื่อผมเห็นโอกาสในการลงทุนผมถึงเริ่มค่อยๆโลภ แต่อย่างไรก็ตามผมมักมองถึงผลลบ (Downside) ของการลงทุนนั้นก่อนเสมอ หมายความว่า ถ้าคุณไม่ขาดทุน คุณก็สามารถทำกำไรได้ นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราทำผลตอบแทนได้ดี

สิ่งต่างๆเหล่านี้ ผมเรียนรู้จาก เบนจามิน เกรแฮม ตั้งแต่ผมอายุได้ราวๆ 20 ปี ในช่วงสิบปีแรกของการลงทุนเป็นช่วงที่ดีที่สุดของผม เพราะในช่วงนั้นเราไม่ขาดทุนเลยสักปีเดียว เราอาจขาดทุนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วเราไม่ขาดทุนอย่างถาวรแน่นอน ผมมองผลลบของการลงทุนก่อนเสมอ”

– Warren Buffett –

(อ่านเพิ่มเติม ‘ซื้อหุ้นต้องมอง Downside ก่อนกำไร’ โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐhttp://www.sarut-homesite.net/?p=8576 )

ส่วนสายผสมหรือสายเทคนิคอล การป้องกันความเสี่ยงที่ดีคือ ต้องมีจุด Stop Loss ที่กำลังดี สามารถตัดขาดทุนได้เร็วเพื่อไม่ให้ความเสียหายลุกลาม หรือการควบคุม risk ไม่เกิน 1-2% ของ Total Equity ในการเทรดแต่ละครั้ง เป็นต้น

การ Cut Loss ก็เปรียบเหมือนการทำประกันความเสี่ยงของนักลงทุนแนวนี้นั่นเอง ว่าการเทรดแต่ละครั้ง เราจะจำกัดความเสี่ยงไว้ที่เท่าไร ประเมิน Risk/Reward อยู่เสมอ (cut loss ‘short’ ไม่ใช่ว่าหุ้นตกไปเยอะๆ 20-30% แล้วค่อย cut นะครับ)

“The elements of good trading are: 1, cutting losses. 2, cutting losses. And 3, cutting losses. If you can follow these three rules, you may have a chance.

I set protective stops at the same time I enter a trade. I normally move those stops in to lock in a profit as the trend continues.

If you can’t take a small loss, sooner or later you will take the mother of all losses.”

– Ed Seykota –

คนที่มีเงินสดมาซื้อตอนหุ้นตกหนัก หรือมีเงินมาซื้อเมื่อขาขึ้นครั้งใหม่เริ่มต้น คือผู้ที่รอดจากการติดดอยราคาสูง หรืออดทนไม่ไปไล่ซื้อหุ้นตอนที่ราคาสูงเวอร์ รอให้ราคาตกลงมาได้

(ไม่นับคนที่ขาดทุนหนักแล้วค่อยขายทิ้งถือเงินสดหลังจากที่หุ้นลงมามากนะครับ เพราะถือว่าได้ realized loss และเงินลงทุนก็หายไปเยอะแล้ว)

นั่นคือการ ‘Live longer & Perform better’ เพราะนอกจากพวกเขาจะเอาตัวรอดได้เรื่อยๆแล้ว ยังสามารถกลับมาทำ return ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย เป็นที่มาของกำไรทบต้นที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาว

เราต้องพยายามอยู่ให้รอดก่อน แล้วในระยะยาวกำไรหรือผลตอบแทนที่เราต้องการก็จะตามมาได้เองครับ

ตารางที่ 2 นี้บอกว่า ถ้าเราทำกำไรได้เท่านี้ จะใช้เวลากี่ปีเงินลงทุนถึงจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว

years-to-double-your-investment

 

แน่นอนว่าการทำกำไรให้ได้เยอะๆนั้นสามารถขยายพอร์ตได้เร็วที่สุด แต่อย่าลืมนะครับว่า การจะทำกำไรให้สูงนั้น เราต้อง Take Risk มากขนาดไหน และถ้าหากพลาดขึ้นมากลายเป็นขาดทุนหนัก ก็จะกลายเป็นแบบตารางที่ 1 ไปแทน

จริงแล้วๆ ถ้าลองปรับเป้าหมาย return แทนที่จะกำไรเยอะๆทุกปี เช่นปีละ 50% – 100% เปลี่ยนเป็นหวังกำไรพอดีแบบสม่ำเสมอ ทำปีละ 20-30% เพียงแค่ 2-3 ปี พอร์ตก็จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวแล้ว และถ้าทบต้นได้ 15-20 ปี พอร์ตก็จะยิ่งเพิ่มอีกหลายสิบเท่า ในขณะที่ risk จะต่ำกว่าการมุ่งทำกำไรปีละ 50-100% มากเลยครับ

(แถมบางครั้งเราก็อาจจะได้มากกว่า 30% ด้วย ในภาวะที่ตลาดดีมากๆ)

ลองเปรียบกับคนที่ได้กำไรเยอะแต่พอร์ตเหวี่ยงรุนแรง กับ คนที่ทำกำไรสม่ำเสมอดูนะครับ

เช่น ทุน 100 บาท นาย A ทำกำไรปีแรกได้ 100% ปีที่สองขาดทุน 50% ปีที่ 3 เขาต้องทำให้ได้ 100% อีกครั้งเพื่อจะกลับไปเท่าสิ้นปีแรก (200 บาท)

เทียบกับ นาย B ที่ทำแบบเรื่อยๆปีละ 25% 3 ปีติดต่อกันก็ได้ 1 เด้งเหมือนกันนะครับ (195 บาท)

ดังนั้น ก่อนที่จะมุ่งทำกำไรสูงๆ เราควรที่จะควบคุมความเสี่ยงให้ดีก่อน!

อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำกำไรปีละ 50-100% ต่อเนื่อง และไม่เคยขาดทุนหนักๆเลย ผมเชื่อว่ามีหลายคนที่เก่งมากและทำได้จริง

แต่การที่ได้กำไรเยอะและไม่เคยขาดทุนหนักๆ นั่นก็แสดงว่าพวกเขาต้องมีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงที่ดีเยี่ยมด้วยเช่นกัน…

“กฏพื้นฐานสองข้อในการ Trade และการใช้ชีวิต คือ 

1. If you don’t bet, you can’t win 

2. If you lose all your chips, you can’t bet”

– Larry Hite – 

Blog 37 : ‘Live longer & Perform better’ – ต้องรอด!

www.sarut-homesite.net

22 กันยายน 2013

Author: admin

2 thoughts on “Blog 37 : ‘Live longer & Perform better’ – ต้องรอด!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.