Blog 20 : Value Investing + Relative Strength = ผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ไปเจอบทความจากเวบ investopedia เห็นเนื้อหาน่่าสนใจดี เกี่ยวกับการประยุกต์หลักการ VI เข้ากับ การใช้ Relative Strength (หรือ Momentum) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผมกำลังใช้อยู่ เลยเอามาแปลต่อครับ แต่ผมตัดเนื้อหาออกบางส่วน เพื่อให้กระชับขึ้น

สำหรับคนที่ไม่เข้าใจว่า Relative Strength คืออะไร ผมได้ใส่ link และวีดีโอที่อธิบายการมองหาหุ้นแข็งแกร่งเอาไว้ให้ที่ท้ายบทความนะครับ

ช่วงนี้เจอบทความน่าสนใจหลายเรื่องเลย เอาไว้จะทยอยแปลลงเวบให้อ่านกันครับ

####

Value Investing + Relative Strength = Higher Returns

โดย Michael Carr

August, 27 2008

The Value Trap

แม้ว่าหุ้นที่มีราคาถูก หรือที่เราเรียกว่าหุ้น Value นั้น ดูเหมือนจะเป็น ‘เพชรที่ยังไม่ถูกค้นพบ’ ก็ตาม แต่บางครั้งมันก็มีโอกาสที่บริษัทนั้นกำลังจะล้มละลายได้ (ราคามันถึงถูกลงไปเรื่อยๆ)

Peter Lynch นักลงทุนชั้นนำ ได้กล่าวถึงสถานการณ์เช่นนี้ด้วยคำถามว่า ‘ถ้าหุ้นยังลงต่ำไปมากกว่านี้ มันจะลงไปได้ถึงเท่าไหร่กัน?’

คำตอบของเขาคือ ‘หุ้นทุกตัวสามารถตกลงไปได้ถึงศูนย์’

ดังนั้นแล้ว ‘การมองแนวโน้มในอนาคตของบริิษัทให้ออก’ จึงถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย และเป็น 1 ในปัจจัยที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ ของ Value Investors ทุกคน

แต่สภาวะที่ลำบาก (dilemma) ที่ VI ทุกคนพบเจออยู่บ่อยๆก็คือ หลักการ Value investing นั้น มักจะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน เพราะ VI จะเดิมพันไว้ว่า ในท้ายที่สุดแล้ว ตลาดก็จะต้องรับรู้ว่า ราคาหุ้นนั้นต่ำกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น

ซึ่งมันอาจจะใช้เวลานานหลายเดือนหรืออาจจะหลายปีเลยก็เป็นได้ กว่าที่ตลาดจะรับรู้ความถูกของหุ้นตัวนั้น และนั่นก็ทำให้ราคาหุ้นอยู่ในโซน Undervalued นิ่งๆเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน (ลองนึกถึงพวกหุ้นถูกเรื้อรังครับ เราจะเห็นว่ามันถูกมาหลายปี กว่าที่จะเริ่มขึ้นมาได้ หรือเริ่มมีตัวเร่งเข้ามา)

ถึงแม้ว่า % เงินปันผล ที่ดูแล้วสูง (หุ้นราคาถูก ปันผลมักจะสูงกว่าค่าเฉลี่่ย) อาจจะให้ความสบายใจกับหลายๆคน แต่การที่เอาเงินทุนไปจมกับหุ้นที่ราคายังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (pattern ราคาแบนๆ) ก็ทำให้นักลงทุนกำลังจะพลาดโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า จากหุ้นตัวอื่นๆที่กำลังเป็นขาขึ้น

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ครับ : Value Traps : Bargain Hunters Beware! )

Timing Value-Based Buys

ในหนังสือ “What Works on Wall Street” (1998), James O’Shaughnessy ได้ทำการทดสอบกลยุทธ์การลงทุนมากกว่า 60 รูปแบบ โดยเป็นการเลือกกรองหุ้นจากเกณฑ์ในเชิงพื้นฐาน

ผลลัพธ์ของการทดสอบนั้นได้แสดงให้เห็นว่า การกรองหุ้นโดยใช้เกณฑ์เชิงพื้นฐานบางปัจจัยนั้น ก็สามารถให้ผลตอบแทนชนะตลาดได้ โดยเขาได้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 1951 จนถึง ปี 1996 (45 ปี)

การทดสอบนี้ จะใช้พอร์ตลงทุนที่ประกอบด้วย หุ้น 50 ตัวแรกจากการกรองตามเกณฑ์ต่างๆ (เช่น 50 ตัวที่ P/E ต่ำที่สุด, 50 ตัวที่ P/BV ต่ำที่สุด) และปรับเปลี่ยนหุ้นทุกๆปี

ผลสรุปของการทดสอบได้ผลลัพธ์ออกมาตาม รูปที่ 1 ซึ่งเขาได้พบว่า กลุ่มของหุ้นที่มี price-to-sales ratio (P/S) นั้น ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด

รูปที่ 1 : ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่า Value Investing นั้น ใช้ได้ผล แม้จะเป็นแค่การเลือกกรองหุ้นออกมาโดยใช้วิธีง่ายๆก็ตาม

(มีข้อสังเกตเล็กน้อยตรงที่ การกรองแบบใช้ค่า P/E ต่ำสุดนั้น กลับให้ผลตอบแทนน้อยที่สุด ทั้งๆที่เป็น ratio แรกๆที่คนส่วนใหญ่จะมอง ดังนั้น เวลาเลือกหุ้นอย่ามองแค่ P/E ต่ำๆนะครับ หรือไม่งั้นให้ใช้ Forward P/E ที่เราคิดเองครับ)

นอกจากนี้ O’Shaughnessy ยังได้ทดสอบเพิ่มเติม โดยผสมเข้ากับ Relative Strength ซึ่งแนวคิด Relative Strength ก็คือ การหาหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุด หรือ หุ้นที่มีผลตอบแทนสูงที่สุดในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับการทดสอบนี้ O’Shaughnessy ได้คำนวน Relative Strength โดยดูจากผลตอบแทนของหุ้นแต่ละตัวในปีที่ผ่านมา หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดและมีราคาถูกที่สุด จะถูกเลือกเข้ามาในพอร์ตแต่ละประเภท (เช่น หุ้นที่มีผลตอบแทนสูงที่สุดในปีที่ผ่านมา และมีค่า P/E ต่ำที่สุด 50 ตัวแรก)

(อ่านเพิ่มเติม : Buy High And Sell Low With Relative Strength)

โดยผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดังนี้

รูปที่ 2 : ผลจากการทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถผสม Relative Strength เข้ากับ Value Investing เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้นได้ และจากที่เห็นคือ เมื่อนำกลยุทธ์ทั้ง 3 มาผสมเข้ากับ Relative Strength ก็ทำให้ผลตอบแทนสูงขึ้น และสามารถชนะตลาดได้ทั้ง 3 รูปแบบ

“Buying the strongest stock with the best valuation ratios clearly beat the market.”

บทสรุป

Value Investing นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลจริง และการที่เราเสริม Relative Strength เข้าไปในหลักการนี้ ก็จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้ด้วยการ “ซื้อหุ้น Value Stock ที่กำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้น”

การปรับปรุงเรื่องจังหวะหรือ Timing ในการลงทุนนี้ จะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการที่ต้องรอให้ตลาดมาสนใจหุ้นของเรานานเกินไป ซึ่งเป็นการลดค่าเสียโอกาสได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น การนำกลยุทธ์นี้ไปปรับใช้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้กับ Value Investing ได้อีกด้วย

‘Blog 20 : Value Investing + Relative Strength = ผลตอบแทนที่สูงขึ้น’

www.sarut-homesite.net

1 มิถุนายน 2012

####

อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับ Relative Strength เพิ่มเติมจากเวบ mangmaoclub

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการคัดกรองหุ้น ด้วยวิธีหาค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์

RS Rotational System : ระบบการลงทุนแบบหมุนตัวเล่น

ซื้อหุ้นต่ำๆไปขายสูง ใช้ได้จริงหรือไม่ : Buy Strength or Buy Weakness?

Relative Strength Trading With Joe Fahmy : วิธีการเล่นหุ้นด้วยค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์

สูตรการคัดกรองหุ้นที่มีค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์มากกว่าตลาด : Leading Stock Screening Formula by Mangmaoclub

 

 

####

Author: admin

1 thought on “Blog 20 : Value Investing + Relative Strength = ผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.