.
คำว่า ตลาดยาก ไม่ได้หมายถึงหุ้นต้องลงอย่างเดียว ลงทุกวัน
แล้วจบที่ bottom / FTD กลับตัวง่ายๆยาวๆ แบบที่เราอยากให้เป็น
แต่ความยากในตลาดหมี นอกจากความผันผวนที่สูงผิดปกติ คือมันจะมีหุ้นที่เล่นกันอยู่ไม่กี่ตัว แต่ก็ทำให้คนรู้สึกว่า
‘น่าจะเล่นได้ เห็นมีหุ้นวิ่งทุกวัน’
รวมถึงการที่ตลาดมักจะวางกับดักเอาไว้ระหว่างทาง อย่างเช่น
– การทุบแรงดีดเร็ว , เบรกแล้วโยนใส่ , เหมือนจะซึมลงแล้วดึงกลับก่อน , FTD แล้ว fail สลับไปเรื่อยๆ ฯลฯ
– วิธีทำเกมของ big player / insider / กองทุน ที่ก็รู้ว่าภาพใหญ่เริ่มไม่ดี
แต่ทำยังไงถึงจะ unload หุ้นให้คนอื่นได้ในราคาดีที่สุด?
– และการที่คนส่วนใหญ่ในตลาดมักจะอยากเล่น อยากมี action รู้สึกว่าต้องทำอะไรทุกวัน (desire for constant action)
ทำให้กับดักในตลาดหมีจะเกิดซ้ำไปซ้ำมา เพราะตลาดจะไม่ได้ขึ้นหรือลงแบบเรียบง่าย-รวดเดียวเสร็จ
สำหรับหุ้นไทย ผมแนะนำให้ดูกราฟ SET ช่วงปี 2013 , 2015 จะเห็นภาพว่าปีที่ตลาดไม่ดีนั้นมีลักษณะประมาณไหน
แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือ – ดู case ย้อนหลัง แล้วเห็นภาพการขึ้นลงทั้งหมดของตลาดแบบทีเดียวได้ทันที
คือเวลาเทรดในสถานการณ์จริง เราต้องไม่ลืมปัจจัยเรื่องระยะเวลาในการ ‘ต้องรอจริงๆ’ เข้าไปด้วย
ในสาย active trader คำกล่าวประเภท take a break , go fishing , flow with market direction จึงไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆขำๆ
เพราะในตลาดหมี หากความผิดพลาดของคนถือยาวอย่างเดียวคือ การไม่เคยคิดว่าทำไมต้องคัทลอส หรือฝึก portfolio hedging เลย
ความผิดพลาดของสายเทรดที่คัทลอสเป็นก็คือ การเทรดแบบไม่รู้จักจังหวะหยุดพัก , การผ่อนหนักเบา
ถึงแม้บางคนอาจจะคิดว่าต้องทำตามวินัย ซื้อแล้วก็คัทตามระบบไปเรื่อยๆ (ถูกตลาด trap ให้ active)
แต่เมื่อมองภาพระยะยาวนั้น คนที่ฝืนเทรดตอนตลาดไม่ดี หรือไม่ได้ adjust entry , size , risk ตามภาวะตลาด
(irrespective of underlying conditions)
ก็มักจะเกิดภาวะ burnout ที่เทรดเยอะๆแต่กลับไม่ค่อยได้อะไร นอกจากความเครียดและความกดดันสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
รวมถึงต้องระวังสิ่งที่เรียกว่า การตายเพราะโดนกรีดเป็นพันครั้ง (death by a thousand cuts) ด้วยครับ
.
Blog 114 : ‘ทำไมเราถึงต้อง take a break & go fishing?’
23 มิถุนายน 2023