Mind-Mapping กับประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม : พีรพงศ์ สุวรรณโภคิน

Mind-Mapping หรือ แผนผังความคิด เป็นกิจกรรมที่หลายๆท่านคงคุ้นเคย และเคยปฏิบัติกันมาก่อนไม่มากก็น้อย ปัจจุบันนี้ การทำ Mind-Mapping ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ต่างก็สนับสนุน และนำเอากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของแต่ละรายวิชา และยังให้ความสำคัญกับการทำ Mind-Mapping กันมากพอสมควร

Mind-Mapping ถือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากมาย และสามารถพลิกแพลงได้อย่างหลากหลาย ทั้งในการศึกษา การบริหาร การจัดการ หรือแม้กระทั่งการวางแผน

ทั้งนี้ ในเชิงบริหาร การทำ Mind-Mapping ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริหารขององค์กร Mind-Mapping ไม่เพียงแต่สามารถแสดงแผนผังการบังคับบัญชา การแสดงสายงานได้อย่างดีและชัดเจนเท่านั้น แต่ Mind-Mapping ยังเป็นเครื่องมือการแก้ปัญหา เพื่อสร้างแนวทางการแก้ไข และการปฏิบัติการได้อย่างชัดเจน

การทำ Mind-Mapping นั้น ไม่จำเป็นจะต้องอาศัยคนจำนวนมากในการทำ เพียงแค่คนๆเดียวก็สามารถที่จะทำได้ และยังเป็น “กิจกรรมประเทืองปัญญา” ช่วยให้ความคิดแตกแขนงขยายออกไปเสมือนกิ่งไม้ที่กำลังเผยแพร่ก้าน-ใบออกไปอย่างเจริญเติบโต

และเพื่อเป็นการยืนยังถึงประโยชน์ของ Mind-Mapping ถ้าคุณมีโอกาสได้คลุกคลีกับเหล่าผู้บริหารขององค์กรต่างๆ คุณจะเห็นว่า ทุกๆท่านเหล่านั้น ต่างเคยผ่านกิจกรรม และเป็นผู้ที่นิยมทำ Mind-Mapping เพราะนอกจากจะเป็นกิจกรรมประเทืองปัญญา สามารถกระทำได้ด้วยตัวคนเดียว การทำ Mind-Mapping นั้น “ยังเป็นการเปิดกว้างความคิดแบบไม่มีอะไรมาขวางกั้นอีกด้วย ยกเว้นแต่ตัวของคุณเอง”

นอกจากนั้น ในเครื่องมือของการบริหาร-การจัดการ ก็ยังจะมีเครื่องมือบางประเภทที่มีความคล้ายคลึงกันกับ Mind-Mapping เช่น แผนผังอิชิกาวา(Fish Bones) หรือ Tree-Diagram เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเครื่องมือที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น ต่างมีความคล้ายคลึงกันมากพอสมควร จนบางครั้งอาจจะก่อให้เกิดความสับสนในการแยกประเภทของเครื่องมือบ้าง แต่ถ้าจะอธิบายแบบง่ายๆ Fish Bones จะถูกคิดค้นขึ้นเพื่อการนำไปใช้งานในเชิงลบ(Negative) เช่นการใช้เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา ส่วน Tree-Diagram นั้นถูกคิดค้นเพื่อการนำไปใช้งานในเชิงบวก(Positive) ซะมากกว่า

แต่ข้อดีของ Mind-Mapping คือ “ไม่จำกัด หรือบังคับว่าคุณจะต้องใช้ในเชิงลบหรือบวกเสมอไป” Mind-Mapping สามารถใช้ได้ทั้งเชิงลบ และเชิงบวก คุณอาจจะนำเอาปัญหามาตั้งเป็นหัวข้อ หรือจะนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาตั้งเป็นหัวข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและ Idea ของคุณ

Mind-Mapping ที่ดีควรจะมีลักษณะการแตกแขนงเสมือนดั่ง “ต้นไม้ใหญ่” ที่มีกิ่งก้านใบแตกแขนงออกไป โดยแบ่งลำดับหัวข้อออกกันอย่างชัดเจน และเปิดกว้าง ไม่วกวน ที่สำคัญหัวข้อย่อย หรือเนื้อหาของแต่ละหัวข้อจะต้องมีความเกี่ยวโยงเป็นทอดๆซึ่งกันและกัน เพื่อแสดงถึงความเชื่อมโยง(Connection)อย่างถูกต้องและเป็นระบบ(System)

Mind-Mapping เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีประโยชน์มากมาย และสามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวของคุณเอง เพียงแค่กระดาษ 1 แผ่น กับดินสอ/ปากกา 1 ด้าม คุณก็สามารถที่จะสร้าง Mind-Mapping ของคุณได้แล้ว เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรืออาจจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเพื่อความสำเร็จ ก้าวหน้า สำหรับอาชีพการงานของคุณก็เป็นได้

“สุดท้ายนี้ อย่าลืมที่จะเปิดกว้างความคิด และหมั่นปฏิบัติกิจกรรมประเทืองปัญญาอย่างสม่ำเสมอ ความคิดดีๆเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ควรจะต่อยอด เปิดกว้าง และพัฒนาออกไปให้ได้มากที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดจากความคิดดีๆเหล่านั้น มิเช่นนั้นก็จะเปรียบเสมือนกับ ทองคำที่ไม่เคยถูกสกัดออกมาจากชั้นหิน…”

Mind-Mapping กับประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

Our Columnist @ www.sarut-homesite.net

พีรพงศ์ สุวรรณโภคิน (Sandels)

12 มิ.ย. 2553

Author: admin

1 thought on “Mind-Mapping กับประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม : พีรพงศ์ สุวรรณโภคิน

  1. ดีครับ เพราะว่า mind-map เป็นสิ่งพื้นฐานที่ผมว่าใครๆก็รู้จักนะครับ ถ้านำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าใช้ในห้องเรียนก็คงเยี่ยมไปเลยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.