ข้อคิดเชิงจิตวิทยาของ Howard Marks เหมาะสำหรับเตือนตัวเอง เวลาเห็นตลาดไหนดูฟองๆแปลกๆครับ
“การลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนแบบแย่ๆ เป็นโลกที่เต็มไปด้วยอัตตา ด้วยเหตุที่การเข้ารับความเสี่ยงจะได้รับผลตอบแทนในภาวะตลาดขาขึ้น
.
ดังนั้น อัตตาจะทำให้นักลงทุนกล้าแบบบ้าบิ่น เพื่อสร้างผลตอบแทนให้โดดเด่นกว่าคนอื่น
.
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนเก่งๆที่ผมรู้จักจะต้องการผลตอบแทนเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง (risk – adjusted return) ที่ดี…ไม่ใช่ต้องการจะเป็นเซเลบ
.
ในความเห็นของผม โดยปกติแล้ว เส้นทางไปสู่ความสำเร็จทางการลงทุนจะต้องอาศัยความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่อัตตา”
#
“สิ่งที่ต้องระลึกไว้ในช่วงฟองสบู่คือ :
- ต่อให้ข้อดีต่างๆของหุ้นเป็นความจริง คุณก็ยังสามารถขาดทุนได้ ถ้าคุณซื้อมันมาในราคาที่แพงเกินไป
- ข้อดีเหล่านั้น และกำไรก้อนใหญ่ที่ดูเหมือนใครๆก็ทำกันได้ อาจทำให้ในที่สุด คนที่อดทนต้องยอมจำนนแล้วเข้าไปร่วมวง
- จุดสูงสุดของหุ้น, กลุ่มหุ้น หรือตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อคนวงนอกคนสุดท้ายได้เข้าไปซื้อ จังหวะเวลานั้นมักไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยพื้นฐานเลย
- “ราคาแพงเกินไป” ไม่ได้มีความหมายเดียวกับ “ราคาจะตก” หุ้นสามารถแพงและแพงอยู่แบบนั้นได้ยาวนาน…หรืออาจจะแพงขึ้นไปอีกได้
- อย่างไรก็ตาม ในที่สุด มูลค่าจะเป็นสิ่งสำคัญ”
#
“สองสามครั้งในชีวิตการทำงานของผม ผมได้เห็นการเกิดขึ้นของความเชื่อที่ว่า ความเสี่ยงได้ถูกขจัดไปหมดแล้ว
.
วัฏจักรจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป หรือกฎทางเศรษฐกิจใช้ไม่ได้แล้ว
.
นักลงทุนผู้มีประสบการณ์และตระหนักถึงความเสี่ยง จะมองมันเป็นสัญญาณของอันตรายครั้งใหญ่”
#
“โซนอันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนพากันเชื่อว่า สิ่งต่างๆจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ
.
แม้มันจะไม่สมเหตุสมผล แต่คนส่วนใหญ่ก็เชื่อมัน นี่คือสิ่งที่ก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่”
#
“ความอยากได้มากขึ้นไปอีก, การกลัวตกรถ, การชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น, อิทธิพลของฝูงชน
.
และการเพ้อฝันว่าจะสำเร็จแน่ๆ เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่ว
.
พวกมันจะรวมตัวกันส่งผลอย่างมากต่อนักลงทุนและตลาดส่วนใหญ่
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงภาวะตลาดสุดขั้ว ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นก็คือความผิดพลาด”
#
“ฝูงชนมองโลกในแง่ดีที่จุดสูงสุด และมองโลกในแง่ร้ายที่จุดต่ำสุด
.
ดังนั้น ในการแสวงหาประโยชน์ เราต้องตั้งข้อสงสัยการมองโลกในแง่ดีที่จุดสูงสุด
.
และตั้งข้อสงสัยการมองโลกในแง่ร้ายที่ปกคลุมตลาด ณ จุดต่ำสุด”
#
“นักลงทุนต้องซื่อสัตย์กับตัวเองในเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลว
.
เรียนรู้ที่จะตระหนักว่า โชคมีบทบาทในการก่อให้เกิดผลลัพธ์
.
เรียนรู้ในการแยกแยะว่า ผลลัพธ์ใดเกิดจากทักษะและผลลัพธ์ใดเกิดจากโชค
.
ถ้าหากคุณไม่ได้เรียนรู้จนสามารถบอกได้ว่า จริงๆแล้วความสำเร็จเกิดจากอะไร
.
คุณก็จะถูกการเคลื่อนไหวแบบสุ่มหรือเหตุบังเอิญหลอก”
#
“ในช่วงฟองสบู่ คนซื้อไม่กังวลว่าราคาหุ้นจะสูงเกินไปหรือไม่ เพราะพวกเขามั่นใจว่า จะมีคนยินดีซื้อหุ้นต่อจากพวกเขาในราคาที่สูงขึ้น
.
โชคไม่ดีที่ทฤษฎีคนโง่กว่าใช้ได้ผลแค่ถึงวันที่มันใช้ไม่ได้ผล
.
สุดท้าย มูลค่าก็จะเข้ามามีบทบาท และคนถือคนสุดท้ายก็จะเสียหาย”
#
“การที่ตลาดอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์แล้วเรามาคิดถึงแต่เรื่องบวกๆ ถือเป็นเรื่องอันตราย
.
อย่างไรก็แล้วแต่ มีคนทำแบบนี้มาแล้ว และก็จะมีคนทำอีก”
#
“การมองข้ามวัฏจักรและหลงคิดว่าอนาคตจะเหมือนปัจจุบัน เป็นสิ่งอันตรายที่สุดที่นักลงทุนสามารถทำได้
.
บ่อยครั้ง ผู้คนชอบทำเหมือนกับว่า บริษัทที่กำลังไปได้ดีจะไปได้ดีตลอดกาล
และการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดจะชนะตลาดตลอดไป (และในทางกลับกัน)
.
ทั้งๆที่เรื่องราวในทางตรงกันข้ามมีโอกาสจะเป็นจริงมากกว่า”
#
“ตลาดมีความรู้สึกเป็นของตัวเอง (ซึ่งจะทำให้มูลค่าเปลี่ยนแปลงไป) อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงจิตวิทยาของนักลงทุน
.
ซึ่งในที่สุด ความคึกคะนองและความประมาทจะเริ่มเกิดขึ้น
.
ผู้คนจะเริงร่ากับการดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัท และเริ่มคิดว่ามันจะดำเนินแบบนั้นต่อไปเรื่อยๆ
.
ฝูงชนเริ่มตื่นเต้น (และอิจฉา) กับผลกำไรซึ่งคนที่เข้าไปซื้อในช่วงก่อนหน้านั้นทำได้ และอยากจะซื้อบ้าง
.
พวกเขาจะมองข้ามความเป็นวัฏจักร และสรุปว่าการได้กำไรแบบนี้จะเกิดขึ้นชั่วนิรันดร์
.
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมชอบสุภาษิตเก่าแก่ที่ว่า
.
“สิ่งที่คนฉลาดทำในตอนต้น คือสิ่งที่คนโง่จะทำในตอนสุดท้าย”
.
พอมาถึงช่วงท้ายของตลาดกระทิงครั้งใหญ่ คนจะยินดีซื้อหุ้นในราคาแพง โดยใช้สมมติฐานว่า ช่วงเวลาดีๆแบบนี้จะเกิดขึ้นตลอดไป”
โดย Howard Marks
Credit ; พี่ WEB (พรชัย รัตนนนทชัยสุข) แปลเอาไว้นานแล้วครับ
“Investing is a popularity contest, and the most dangerous thing is to buy something at the peak of its popularity.
.
At that point, all favorable facts and opinions are already factored into its price, and no new buyers are left to emerge.”― Howard Marks, The Most Important Thing –
.
“the three stages of a bull market”
: the first stage, when only a few unusually perceptive people believe things will get better,
.
the second stage, when most investors realize that improvement is actually taking place,
.
and the third stage, when everyone concludes things will get better forever.”
― Howard Marks, Mastering The Market Cycle –
.
…