1. เริ่มจาก Scan & Screen
– Scan ; เพื่อคัดกรองหุ้นที่เป็น uptrend เท่านั้น เพราะเราต้องการหุ้นที่ราคาอยู่ในสถานะพร้อมวิ่ง จะได้ไม่เสียเวลารอนาน และเสียโอกาสที่หุ้นตัวนั้นอาจจะไม่วิ่งเลยก็ได้
ปัจจุบันการ scan หุ้นไม่ใช่เรื่องยากและมีโปรแกรมฟรี หรือเพจต่างๆให้เราเลือกดูเยอะเลยครับ คนที่เพิ่งหัดเล่นก็สามารถหาหุ้น uptrend ได้ ไม่แตกต่างกับคนที่เล่นมานานแล้ว
– Screen ; หลังจากกรองหุ้นกราฟสวยเป็น uptrend แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการสกรีนพื้นฐานธุรกิจ หรือ growth ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะว่าเราต้องการเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มดีทั้งพื้นฐานและกราฟ (สายผสม)
– โดยทั่วไปหุ้นที่ดีคือ หุ้นที่มีโมเดลธุรกิจดี , งบดุล-งบกระแสเงินสดดี รายได้-กำไรเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยและโตต่อเนื่อง , อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังรุ่ง , อัตรากำไรดีขึ้นเรื่อยๆ , ผลประกอบการไม่ผันผวนขึ้นๆลงๆ (Quality Stock)
ส่วนอีกกลุ่มคือ หุ้นที่ผลประกอบการเริ่มพลิกฟื้นและกลับมาเติบโตได้อีกครั้งจริงๆ แต่กลุ่มนี้ต้องติดตามให้ดีหน่อยว่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องหรือไม่ (Turnaround Stock)
– เนื่องจากผมเริ่มเล่นหุ้นมาจากสาย VI ทำให้ได้ความรู้เรื่องพื้นฐานและการอ่านงบติดตัวพอสมควร ซึ่งจะช่วยให้เราคัดกรองหุ้นได้ว่าบริษัทนี้มีโมเดลธุรกิจหรืองบการเงินดีหรือไม่ดี
– ถ้าคนที่ยังดูพื้นฐานได้ไม่ดีนัก ผมแนะนำให้ศึกษาหลักการของ VI ให้มากขึ้น (หนังสือ VI ดีๆมีเยอะมาก) แล้วค่อยมาผสมกับการดูกราฟให้ลงตัวครับ
ถ้าเราเล่นหุ้นไม่ดูพื้นฐานเลย หรือเน้นแต่กราฟไม่ดูคุณภาพ ก็มักจะเจอปัญหาว่าหุ้นกราฟสวยอยู่ดีๆราคาก็หักลงแรง พอกราฟพังแปปเดียวก็เลิกเล่นกันแล้ว
สาเหตุนึงก็เพราะว่า หุ้นที่พื้นฐานไม่ดีนั้น demand จะมาจากกลุ่มคนที่ดูกราฟอย่างเดียว ไม่มี demand จากกลุ่มคนเล่นพื้นฐานหรือกองทุนมาช่วยรองรับราคาหุ้น (no support) และหุ้นพวกนี้งบการเงินก็จะไม่ค่อยสม่ำเสมอด้วย
(กดที่รูปเพื่อดูขนาดเต็ม)
2. When to Buy & Sell และ Trade Manage
– จุดซื้อนั้นมีหลากหลายมาก จะซื้อเบรกเอาท์, ซื้อตอนย่อ , ซื้อดักเบรก , ซื้อตอนพักในเบส, ซื้อ ppbp , VCP , ซื้อหลังงบออก ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์, ความถนัด, และภาวะตลาด ไม่มีถูกผิดครับเรื่องพวกนี้
– เช่นเดียวกับการขาย เราต้องตัดสินใจว่าหุ้นแต่ละตัวเราจะเล่นกับมันอย่างไร จะเล่นรอบ , ถือลงทุนยาว , เล่นสั้นขำๆ
สิ่งสำคัญคือต้องวางแผนเทรดสำหรับหุ้นแต่ละตัวไว้ล่วงหน้าและมีจุดขายเอาไว้เสมอ (ไม่งั้นกำไรอาจจะหายเยอะเกิน หรือถ้าไม่ cut loss ก็ติดดอยยาว)
– การตรวจสอบภาวะตลาดเป็นประจำจะช่วยให้เรารู้ว่า เราควรปรับตัวและเลือกเทรดอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด
คือพยายาม maximize gain และควบคุมการขาดทุนให้น้อยที่สุด ตามความรู้ความสามารถที่เรามีเมื่อตลาดอยู่ในภาวะต่างๆ
(อ่านเพิ่มเติม >> Blog 53 : ‘แนวทางการเทรด CANSLIM ในภาวะตลาดซบเซา และตัวอย่างสุดยอดหุ้นของปีนี้’ )
.
3. จิตวิทยา , Sentiment , Edge / Niche
– ข้อนี้เป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันคนเริ่มมีความรู้เรื่องหุ้นมากขึ้น ทั้งความรู้พื้นฐาน กราฟ การเทรด เราจะอ่านและศึกษามาคล้ายกันหมดอยู่แล้ว
– ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้ระบบของเราแตกต่างจากคนอื่นก็คือเรื่องของภายใน
เช่น จิตวิทยา , การมีความคิด-มุมมองและกระบวนการของตัวเองที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
– ข้อมูลข่าวสาร ถ้าเป็นเรื่องที่ใครๆก็รู้แล้วมักจะไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเรารู้อะไรที่คนยังไม่รู้มาก
เช่น หุ้นดีกราฟสวยแต่ยังคนไม่ค่อยพูดถึง หุ้นพวกนี้มักจะให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นที่มีแต่คนพูดถึงหรือใครๆก็มีหุ้นตัวนี้อยู่แล้ว (over own)
– การศึกษาหลายๆศาสตร์ทำให้เรารู้ว่า ไม่มีแนวทางไหนดีที่สุด เทพที่สุด ทุกหลักการมีข้อดีข้อเสีย ดังนั้น มันมีแค่ว่าแนวทางไหนที่เหมาะกับตัวเรามากที่สุดเท่านั้น
– เราไม่สามารถเลียนแบบคนอื่นหรือ idol ได้หมดทุกอย่าง สิ่งที่เราควรทำก็คือการเลือกนำสิ่งที่ดีและเหมาะสมกับสถานะตัวเอง มาผสมกันให้เป็นระบบที่ลงตัวของเราเอง
– พยายามหาข้อได้เปรียบที่เรามีทั้งในแง่ของความรู้ ประสบการณ์ เทคนิคและมุมมองส่วนตัว แล้วนำมาปรับแต่งให้เป็นระบบเฉพาะตัวของเรา (trading edge & niche)
.
– การประเมิน Sentiment ของคนในตลาด ร่วมกับการสังเกต price & volume ของตลาด-หุ้นในลิสจะช่วยให้เรารู้มากขึ้นว่าควรเทรดอย่างไร จังหวะไหนควรกลัว จังหวะไหนควรกล้า
– ตัวอย่างล่าสุดคือปี 2016 , 2020 ที่เมื่อช่วงต้นปีมีแต่ข่าวร้ายและมุมมองเชิงลบจากกูรูทั้งหลาย
แต่ถ้าสังเกต price volume ของตลาดกับหุ้นรายตัวจะเห็นว่ามันวิ่งสวนทางกับข่าวและความคิดของคนส่วนใหญ่มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
( อ่านเพิ่มเติม >> Blog 63 : ‘Sentiment vs Market’ – สิ่งที่คนคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง )
.
.
4. Position Size และ Money & Risk Management
– ‘มากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี’ คือสิ่งที่ต้องท่องไว้เสมอเวลาซื้อหุ้นแต่ละตัว
– หัวข้อนี้ผมแนะนำให้ศึกษาแนวคิดของสาย system trade หรือ trend following เพราะถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของแนวนี้
ความรู้ส่วนนี้ผมได้มาจากการอ่านหนังสือสายเทรดและจากเวบแมงเม่าคลับ (แนะนำให้ไล่อ่านทุกบทความตั้งแต่พี่มดเปิดเวบเลยครับ ดีมากๆ >> http://mangmaoclub.com/index/ )
– optimal position size ที่เซียนหุ้นหลายคนแนะนำไว้คือ 20-30% ต่อตัว และควรถือหุ้นประมาณ 4-6 ตัว (พยายามถือไม่เกิน 10 ตัว)
เป็นระดับ size ที่ทำให้ไม่รู้สึกหนักจนกดดันเกินไปและก็ไม่น้อยจนเกินไป
(ขึ้นอยู่กับสภาพคล่อง , bid offer ของหุ้นแต่ละตัวด้วยครับ)
– พยายาม cut loss ไม่เกิน 5-10% ขึ้นอยู่กับจุดซื้อว่าไกลจาก stop ของเรามากแค่ไหน
– การเทรดแต่ละครั้งพยายาม risk ไม่ให้เกิน 1% port จะทำให้เราเอาตัวรอดอยู่ได้ในทุกภาวะตลาด
– อธิบายง่ายๆคือ การ risk 1% = เราสามารถขาดทุนได้ 100 ครั้ง จนกว่าจะหมดตัว ทำให้เวลาเราพลาดขาดทุนบางตัว เราก็ยังมีเงินทุนเหลือพอที่จะเทรดจนพอร์ตกลับมาทำ new high ได้เสมอ
– คนที่ควบคุม risk ไม่ดี หรือชอบเสี่ยงมากเกินไป เวลาผิดทางหรือเจอตลาดขาลง มักจะขาดทุนอย่างหนักจนมูลค่าพอร์ตลดลงแรงและเร็วมากจนตั้งตัวไม่ทัน (ขาดทุนได้ไม่กี่ครั้งก็หมดตัวแล้ว)
– การจะฟื้นตัวต้องใช้เวลานานหรือบางคนพลาดทีอาจจะกลับมาไม่ได้เลย และยังทำให้เกิดความเครียดสูงเป็นส่วนใหญ่ด้วย
– จุดนี้จะแตกต่างจากคนที่มีการควบคุมความเสี่ยงได้ดี เวลาขาดทุนแต่ละครั้งก็จะกินทุนไม่เยอะ (โดนแค่ครั้งละประมาณ 1-2% port) ทำให้ไม่เครียดมาก และพอร์ตก็กลับมา new high ได้เร็วกว่าด้วยครับ
(อ่านเพิ่มเติม >> Blog 37 : ‘Live longer & Perform better’ – ต้องรอด!
> Blog 39 : ‘Smart money และจุดอ่อนของ Mass’ จากทฤษฎีผลประโยชน์ )
…
*แนวทางในบทความนี้เป็นการอธิบายแบบคร่าวๆเท่านั้น เพราะในแต่ละหัวข้อสามารถลงรายละเอียดไปได้อีกมาก*
ส่วนตัวผมมองว่า การมีแนวทางและระบบเล่นหุ้นเป็นของตัวเอง จะส่งผลดีต่อตัวเรามากกว่าการรอลอกหุ้นหรือแห่ตามคนอื่นอย่างเดียว
เป็นเหตุผลนึงที่เวบผมจะชอบเน้นเรื่องแนวคิดและหลักการ ไม่ได้เชียร์หุ้นรายตัวนอกจากเป็น case study เพราะอยากให้ทุกคนสามารถคิดและลงมือทำ-เอาตัวรอดอยู่ในตลาดให้ได้นานๆด้วยตัวเองก่อน
ถ้าเรามัวแต่เล่นตามคนอื่น สิ่งที่เราได้รับก็คือตัวหุ้น (ไว้ลอก จะกำไร-ขาดทุนมั้ยไม่รู้) แต่เราจะไม่ได้มีการพัฒนาทักษะที่ทำให้เราเล่นหุ้นเก่งขึ้นมาได้เลย
เล่นแบบนี้ไปกี่ปีๆฝีมือก็มีเท่าเดิม เวลาตลาดดีก็อาจจะกำไรเยอะหน่อยตามภาวะตลาด ถ้าตลาดไม่ดีก็มักจะเสียหายหนักเพราะเอาตัวรอดเองไม่ได้ หรือเพราะเชื่อคนอื่นมากไป
(บทเรียนคนติดดอยหนักเพราะเชื่อคนอื่น เชื่อเซียน หรือมีระบบและความเชื่อที่ไม่ดีนัก มีให้เราเห็นกันทุกปี)
แต่ถ้าเราพึ่งพาตัวเองให้มาก มี process-มีแนวทางและระบบที่ดีเป็นของตัวเอง หรือมีกลุ่มหุ้นที่เน้นช่วยกันพัฒนาทักษะ ไม่ใช่แค่เชียร์หุ้นมาเล่นตามกันง่ายๆ
เราและเพื่อนในกลุ่มก็จะสามารถเอาตัวรอดกันได้เอง , ทุกคนสามารถค้นหา-คัดเลือกหุ้นที่ดีได้ ผลงานที่ได้ก็เกิดจากฝีมือและความสามารถ เป็นการพัฒนาไปด้วยกันทั้งกลุ่ม
บทเรียนและประสบการณ์ที่ได้มาจากการคิดและลงมือทำด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสอนเราได้
และในระยะยาวมันจะทำให้ความคิด-มุมมองของเราเฉียบแหลมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆด้วยครับ
####
Updated 2019 ;
เวลาที่เราเทรดพลาด ไม่ว่าจะขาดทุน กำไรหาย ตกรถ ฯลฯ สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือการเอาแต่โทษตลาด โทษคนอื่น หรือโทษดวงของตัวเอง
แต่เราควรย้อนกลับมาดู process หรือกระบวนการเทรดของเราก่อนเป็นอย่างแรก
ไล่ไปทีละขั้นตอนว่า ‘เราทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง?’
การลำดับ process ในการเทรดคร่าวๆจะมีดังนี้ ;
– เราเลือกหุ้นมาดีหรือยัง? , ทำการบ้านทั้งพื้นฐาน , story growth , กราฟ , งบ ครบแล้วหรือไม่?
– จังหวะเทรดของเราถูกต้องจริงๆหรือยัง? เราไปไล่ราคาหรือรอจุดซื้อที่ดีตามระบบ?
– เรามีการควบคุมความเสี่ยงดีพอหรือยัง? ตั้ง stop หรือมีจุด exit อย่างไรบ้าง?
– เราเทรดและทำตามแผนที่วางไว้หรือไม่? ถ้าไม่ทำตามแผนเกิดจากอะไร?
– ภาวะตลาดตอนนั้นเป็นอย่างไร เราเทรดสวนตลาดหรือสอดคล้องกับตลาด?
– หุ้นตัวนั้นมีความคาดหวังสูงขนาดไหน มีคนรู้-คนถือเยอะเกินไปหรือยัง?
– หุ้นที่เราเทรดเป็นหุ้นกราฟสวยที่คนยังไม่นิยม หรือเป็นหุ้นที่ใครๆก็มีกันหมดแล้ว?
– ราคาหุ้นมาไกลเกินไปหรือยัง เมื่อเทียบกับจุดเริ่มต้นของขาขึ้นรอบนั้น? เราควรซื้อตรงนี้เลยหรือรอหุ้น pullback – พักลงมาทำ base ใหม่ก่อน?
– sentiment ของคนในตลาดตอนนั้นเป็นอย่างไร คนส่วนใหญ่กำลังเคลิบเคลิ้มหรือกำลังหวาดกลัว?
– ฯลฯ
หลังจากทบทวนบทเรียน เราจะพบว่าความผิดพลาดส่วนใหญ่มักจะเกิดจากตัวเอง (อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้)
ดังนั้น เวลาที่พลาดหรือขาดทุน พยายามอย่าโทษอย่างอื่น แต่ลองวิเคราะห์หาข้อผิดพลาดก่อน
จากนั้นก็ค่อยนำบทเรียนไปปรับปรุง เพื่อพัฒนาให้ตัวเราเก่งขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆครับ
.
Blog 69 : ‘Trading Process’ – แนะนำขั้นตอนในการเล่นหุ้น (ฉบับย่อ)
15 สิงหาคม 2016 – Updated 2022