ในแต่ละปี จะมีช่วงที่ผมกลับไปอ่านหนังสือเล่มที่ชอบซ้ำ
การอ่านหนังสือดีๆซ้ำแต่ละครั้ง นอกจากจะเป็นการทบทวนที่ดีแล้ว
ก็ยังได้มุมมองและข้อคิดที่มักจะเข้ากับสถานการณ์ และภาวะตลาดที่เรากำลังเจออยู่ด้วยครับ
1. เริ่มจากเล่มคลาสสิค ‘How to Make Money in Stocks’
– ในบทที่ 1 จะมีกราฟตัวอย่าง winning stocks 100 ตัว ที่ปู่โอนีลคัดมาให้ เหมาะสำหรับใช้ฝึกดู base และสังเกตการปรับตัวของหุ้นในภาพใหญ่ (กราฟ week)
โดยเฉพาะตอนที่หุ้นเริ่มฟื้นตัวหลังตลาดปรับฐานเสร็จ หรือเป็นรอบเด้งครับ
– ช่วงนั้นหุ้นไทยหลายตัวก็มี pattern คล้ายกับตัวอย่างในหนังสือ คือเป็นขาลง-ปรับฐานแรง
จากนั้นก็พักแล้วค่อยๆฟอร์ม base ใหม่ในภาพใหญ่ ตามแนวเส้น 50 / 200 แล้วค่อยกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งหนึ่งได้
– หุ้นที่ปู่โอนีลคัดมา ก็เริ่มต้นขาขึ้นใหญ่หลังตลาดผ่าน correction แรงๆ + ผ่านช่วงที่หุ้นซึมมานานพอสมควร
– base ในช่วงตลาดหมี (ตลาดที่เทรดใต้เส้น MA 200 วัน เป็นเวลานาน) จะต้องใช้เวลาฟอร์มตัวนานหลายเดือน หรือบางครั้งก็เกือบปี
– ช่วงขาลงใหญ่ ถ้ายังไม่เห็นสัญญาณกลับตัวจากตลาดและหุ้นในลิส ก็ไม่ต้องรีบร้อนซื้อหุ้น หรือไล่ราคาเพราะกลัวตกรถ
เพราะในช่วงขาลงหรือ choppy ราคาหุ้นมักจะเหวี่ยงขึ้นลงแรงกว่าปกติ การไปไล่ซื้อตอนหุ้นพุ่งแรงๆเลยจะยิ่งเสียเปรียบ
– สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาเงินลงทุนและกำไรที่ทำได้ในช่วงก่อนหน้า และรอกลับเข้าตลาดเมื่อเริ่มเห็นโอกาส risk/reward ที่ดีจริงๆ
…
2. เล่มแดง ‘In the trading cockpit with the O’neil disciples’
เล่มนี้เหมาะกับช่วงตลาด trendless & choppy (ผันผวนขึ้นๆลงๆ ไม่มีทิศทาง)
เพราะเนื้อหาเขียนถึงช่วงที่ตลาดเมกากำลังเป็น trendless & choppy market พอดีครับ
มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง
– ช่วงตลาด trendless พวกแนวคิด follow through day (FTD) ความแม่นยำจะต่ำมาก เพราะพอเกิด FTD แล้วก็มัก fail สลับไปมาทั้งปี
– ถ้ามัวแต่รอ FTD รอตลาดขึ้นแบบ confirm ชัดๆแล้วค่อยเริ่มซื้อเลยมักจะเสียโอกาส เพราะ 1. ตลาดชอบหลอก 2. เราจะเข้าซื้อหุ้นช้าไป
– ช่วงที่ตลาดเหวี่ยงรุนแรง (choppy / trendless) จุดซื้อที่น่าสนใจคือ ‘Pocket Pivot Buy Point (PPBP)’
PPBP เป็นการซื้อก่อน breakout ทั่วไป ตอนที่หุ้นยังไม่ถูกไล่ราคามากเกินไป
และควรปรับมาซื้อหุ้นตอนกำลังพักทำ base แล้วมีสัญญาณจากวอลุ่ม หรือลองซื้อตอน pull-back สาเหตุเพราะว่า
1. ต้นทุนจะต่ำกว่าซื้อหลัง breakout พอสมควร
2. หุ้นยังไม่โดดเด่นจนเกินไปนัก (mass น้อย)
3. เวลาหุ้นย่อ โอกาสโดนสลัดหลุดน้อยกว่าซื้อ breakout ทั่วไป
4. ถ้าต้อง cut loss ก็ขาดทุนน้อยกว่าการซื้อตอน breakout แน่นอน ทำให้สามารถควบคุม risk ได้ดีขึ้น
(จริงๆแล้ว PPBP นั้นสามารถใช้ได้ดีกับทุกภาวะตลาด แต่ที่เน้นใช้ช่วงตลาดหมีเพราะว่าการซื้อ breakout ตอนตลาดไม่ดีนั้นอันตรายกว่าตอนขาขึ้นมาก)
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PPBP >> The Pocket Pivot Buy Point : สัญญาณซื้อหุ้นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสาวก CANSLIMer!
และ www.virtueofselfishinvesting.com/pocket-pivot )
– buy point ที่ดีอีกอย่างคือ ‘Buyable Gap-Up’ เพราะเป็นการซื้อที่ยากต่อคนส่วนใหญ่ + แสดงถึง powerful demand
เพราะถ้าภาวะตลาดยังไม่ดีมากนัก แต่หุ้นเปิดโดดและยืนได้ แสดงว่ามีแรงซื้อเข้ามาเยอะและจริงจัง
– สิ่งที่สำคัญสุดคือ price & volume ของหุ้นรายตัว พยายามมองหาหุ้นที่แข็งๆ หุ้นที่ผลประกอบการยังดีต่อเนื่อง มีแนวโน้มเป็น leading stock ของช่วงนั้น
เพราะหุ้นบางตัวที่แข็งแกร่งจริง ก็มักจะสามารถสวนภาวะตลาดโดยรวมได้
ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญกับ action ของหุ้นรายตัวก่อนภาวะตลาด จะได้ไม่พลาดทำ winning stock หลุดมือ หรือไม่เข้าเทรดหุ้นตัวที่แข็งแกร่งจริงๆ
– เล่มนี้ต่างกับเล่มเหลือง (Trade Like an O’Neil Disciple) คือ เล่มเหลืองเขียนช่วงที่ตลาดหุ้นเมกาเป็นขาขึ้นใหญ่และบูมไปจนถึงช่วงฟองสบู่แตก
ส่วนเล่มแดงเขียนในช่วงที่ตลาดเป็น sideway ใหญ่ 10 กว่าปี (2000 – 2011) เป็นภาวะตลาดช่วงหลังจากที่ฟองสบู่ dotcom แตก
ทำให้เราได้เห็นการปรับตัวและมุมมองที่เปลี่ยนไปของผู้เขียน เมื่อภาวะตลาดเริ่มเปลี่ยนแปลง (สองเล่มนี้คนเขียนคนเดียวกัน)
…
3. อีกเล่มที่ผมชอบมากคือ ‘Trade Like a Stock Market Wizard’ ของพี่มาร์ก
– การดู stage ของหุ้น ปกติหุ้นจะมี 4 stage ใหญ่ sideway >> uptrend >> stall >> downtrend แล้ววนใหม่
– เราควรจะดูให้ออกว่าหุ้นกำลังอยู่ใน stage ไหนแล้ว เช่น หุ้นเพิ่งจะเริ่มขาขึ้น (น่าเล่น) หรือมาไกลเกินไปแล้ว (late-stage ไม่น่าเล่น) เป็นต้น
– หลังผ่านช่วงที่เป็นขาลงแล้ว พยายามหาหุ้นที่กำลังทำ base หรือ sideway รอเข้าซื้อช่วงที่เพิ่งเริ่ม uptrend ใหม่
เพราะการเข้าซื้อตั้งแต่เนิ่นๆช่วงต้นทาง จะดีกว่ามาช้าเกินหรือไปไล่ซื้อตัวที่ขึ้นไปไกลมากแล้ว
– อีกจุดที่ชอบในเล่มนี้คือ การสังเกตแนวโน้มหุ้นจาก price pattern และ volume เท่านั้น ไม่ต้องไปดู indicator อะไรมากมายเลย (เรียบง่ายดีครับ)
– เล่มนี้เป็นหนังสือหุ้นที่ผสมผสานพื้นฐาน + กราฟ ได้ลงตัวและเรียบง่ายที่สุดก็ว่าได้ (เนื้อหาทันสมัยด้วย)
…
บทความนี้ผมหยิบข้อคิดมาเฉพาะส่วนที่เหมาะกับช่วงตลาดขาลง-ซบเซาเท่านั้น
ทั้ง 4 เล่มยังมีแนวคิดและหลักการอื่นๆที่เป็นประโยชน์อีกหลายอย่าง (ผสมทั้งพื้นฐาน + กราฟ)
เป็นหนังสือที่ผมแนะนำให้อ่านทุกเล่มเลยครับ
…
Note เพิ่มเติม ;
ในช่วงตลาดหมีหลังจากที่ถล่มลงมาแรงซักพัก สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาทุกครั้งคือการดีดกลับแรงๆของตลาดและหุ้นรายตัว
ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า การ rally แต่ละครั้งจะเป็นแค่รอบเด้งในตลาดหมี (bear rally ใต้เส้น 50 , 200) , short squeeze/covering , หรือจะวิ่งยาวจนเกิด new bull รอบใหม่
เราจึงต้องคอยติดตามอาการของตลาดและหุ้นในลิสไปเรื่อยๆ วันต่อวัน สัปดาห์ต่อสัปดาห์
แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆคือ ถ้าราคาหุ้นถูกไล่เกินจุดซื้อที่ดีของเราไปมากแล้ว (low risk entry) ก็ไม่ควรไปไล่ซื้อ ไล่ราคาตาม
อย่าลืมว่าข้อผิดพลาดสำคัญของคนส่วนใหญ่ นอกจากการไม่ตัดขาดทุน ก็คือการกลัวตกรถ , overtrade , และซื้อหุ้นในจุดที่อันตรายเกินไป
แต่ถ้าเรารู้ระบบเทรดของเราเป็นอย่างดี เราก็จะไม่รู้สึกกังวลหรือกลัวตกรถ
เพราะเวลาที่มีหุ้นเข้าระบบ เกิดจุดซื้อที่ดี ในจังหวะที่น่าสนใจ เราก็ค่อยลองซื้อตามปกติ
ถ้าหุ้นยังดูเสี่ยงเกินไป ยังไม่น่าซื้อก็รอดูก่อนได้ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเข้าเทรด
แนวโน้มใหญ่ครั้งใหม่จะเกิดขึ้นได้ ต้องค่อยๆใช้เวลาก่อตัวนานพอสมควรครับ
….
Blog 48 : ‘ข้อคิดการเทรดช่วงตลาดยาก’
13 ก.ค. 2014
Updated 2022