เอามาจาก Thai VI ครับ เป็นกะทู้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว (ปี 2010) แต่อ่านแล้วได้ประเด็นข้อคิดที่น่่าสนใจหลายอย่าง เลยขอพี่ฮงเอามาลงต่อครับ
เพิ่มเติมว่า ตอนนี้ผมเพิ่มหมวดใหม่ในเวบคือ Guru Interview นะครับ
เอาบทความประเภทสัมภาษณ์มารวมกัน แยกออกจากหมวด Investment เพราะตอนนี้บทความในเวบมีเยอะพอสมควร เลยพยายามจัดหมวดหมู่ให้เลือกอ่้านกันง่ายขึ้นครับ
####
สัมภาษณ์ฮงวายู แบบไม่เม้ม ตอนแรกดูเหมือนฮงหน้าเด็กจะไม่ยอมเปิดเผยความลับ พรายมหากาฬใช้แส้พิษ ใช้ตะบอง และดาบยืนได้หดได้ ก็แล้วก็ไม่ยอมบอก ในที่สุด เด็กเลี้ยงแกะจึงต้องหยิบของเหลวสีฟ้ากลิ่นบลูโซดาผสมกับยากล่อมประสาทอีกหลายขนาน ฉีดเข้าไปในตัวของ ฮงวายู จากนั้นจึงได้ข้อมูลออกมาดังนี้ … เรียบเรียงข้อมูลโดย พรายมหากาฬ …
1. อายุเท่าไหร่ เรียนจบอะไร ด้านไหน
– อายุ 25 ปีครับ เรียนจบด้านการตลาดที่ ม.กรุงเทพอินเตอร์ครับ (buic) เกรดเฉลี่ยก็ประมาณ 2 เศษๆครับ เป็นคนเรียนไม่เก่งครับ
2. ทำไมถึงสนใจมาลงทุนในหุ้น ประสบการณ์การลงทุนเป็นอย่างไร
– สนใจเพราะตอนอยู่ ม.6 มีเงินเก็บ 1 แสนบาทครับ และตอนนั้นเป็นช่วงปลายปี 2003 ซึ่งเพือนที่มีเงินเก็บ 1 แสนบาทเท่ากับเรา เอาเงินไปซื้อหุ้น shin เพียงไม่กี่เดือนแล้วได้กำไรถึง 50,000 บาทครับ เราก็อิจฉาครับ เพราะตอนนั้นดอกเบี้ยต่ำมาก ประมาณ 1-2% เท่านั้นเอง เห็นเพื่อนได้เงินสบายๆเราก็อยากได้บ้างครับ
3. ทราบมาว่าช่วงหลังนี้ timing ในการลงทุนดีกว่าเมื่อก่อนมาก ไม่ทราบมีวิธีการอย่างไร และฝีกฝนอย่างไร
– ส่วนนึงผมก็หัดดูกราฟครับ มีอาจารย์หลายคนเลยครับเรื่องดูกราฟ อาจารย์ bremner อาจารย์แจ็ค นี้เป็นครูกราฟของผมทั้งนั้นครับ จริงๆแล้วผมคิดว่าเรื่อง timing นี้เป็น art พอสมควรทีเดียว ผมจะเล่าถึงปรัชญาของ timing ในมุมของผมให้ฟังครับ
ถ้าเราเล่นหุ้นแบบวีไอ เราจะเจอกับหุ้นประเภทถูกเรื้อรังอยู่พอสมควรครับ และในบรรดาหุ้นที่ถูกเรื้อรังก็จะมี หุ้นที่ไม่ขึ้นเลย กับ หุ้นที่หายจากการถูกเรื้อรัง อย่างหุ้นเหล็กบางตัว pe 4-5 เท่ามาตลอด มีเงินสดต่อหุ้นเยอะ แทบไม่มีหนี้ แต่ว่ามันก็ถูกมาหลายปีกว่าจะขึ้นได้ ถ้าเราดูกราฟกับกำไรรายไตรมาสช่วย เราก็จะเข้าได้ถูกจังหวะมากขึ้น แต่คนที่ดูแต่ตัวหุ้นก็ต้องถือทนมาหลายปีมากกว่าหุ้นจะขึ้น
อย่างตอนนี้ผมกำลังทำ project เรื่อง winner stock อยู่ก็คือเอาหุ้น 10 เด้งหลัง subprime มาใช้ model การเติบโตของกำไรแบบ qoq ,yoy ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง และหุ้นที่ว่าเข้าระบบเทรดอย่างไรบ้าง ซึ่งหุ้นที่ผมทำข้อมูลก็เช่น kce cpf sta ptl tasco เป็นต้น ตั้งใจจะทำ 15 ตัว ผมอยากรู้ว่าหุ้นพวกนี้ถ้าเราจะซื้อช่วงที่หุ้นเป็นขาขึ้นแบบชันๆเลย เราควรเข้าไปซื้อตอนไหน เวลาผมเล่นหุ้น ผมจะเลือกความชันของกราฟที่สูง เช่น สมมุติว่ากราฟขึ้นด้วยความชัน 30% แบบนี้ถือว่ายังไม่ดีพอ เพราะการจะทำเงินหลายๆเด้งภายในปีเดียวจำเป็นต้องหาหุ้นที่กราฟมีความชันสูงมากกว่านี้ ผมสนใจหุ้นที่ความชันในการขึ้นประมาณ 55-60% ขึ้นไป ซึ่งจากข้อมูลที่ผมทำ project หุ้นพวกนี้จะมีจุดที่ความชันเปลี่ยนไปและช่วงนั้นหุ้นจะขึ้นเร็วมาก และมันจะ match กับเรื่อง momentum earning qoq พอดีอย่างกับนัดกันมาเกิด ถ้าหุ้นที่ผมถืออยู่เริ่มมีความชันจากสูงลดองศาลงแล้วหุ้นอีกตัวนึงเริ่มมีการประกาศกำไรแบบ earning surprise ผมก็จะขายตัวที่ความชันลดเข้าตัวที่น่าจะมีความชันเพิ่มขึ้น เพราะผมรีบผมอยากจะหมุนเงินให้ได้มากที่สุด
อาจารย์ผมเคยพูดคำว่า ‘เวลาคือความเสี่ยง’ ระหว่างที่คุณถือหุ้นแล้วรอให้หุ้นขึ้นโดยที่คุณคิดว่าคุณรอได้หลายปี เกิดอยู่ๆมีสงครามโลก มียิงนิวเคลียร์ขึ้นมาคุณก็น่วม แต่ของผมอาจแค่กำไรลดเพราะผมถือว่า หุ้นถ้าดีจริงมันต้องขึ้นทันที หุ้นถ้าดีจริงหลายตัวคุณต้องเคาะขวาอย่างเดียวเลยด้วยซ้ำ ถ้าบิดไว้ก็ไม่ได้ของ ยกเว้นตอนมันวิ่งแรงๆแล้วพักตัว bid ไว้ถึงจะได้ของ เพราะว่าของดีจริงคนที่มีปริมาณเงินมากแล้วคิดว่าหุ้นตัวนี้ต่อให้ยกไปอีกหลายๆช่องก็ยังถูกก็จะเคาะขวาอย่างหนักและต่อเนื่อง เข้าทำนองของดีต้องราคาแพง แต่ว่าซื้อแพงแล้วขึ้นเร็วๆต่อก็เพียงพอแล้ว คุณซื้อหุ้นตอนราคาแพงไม่ได้หมายความว่ามันไม่ value ถ้าหุ้นบางตัวราคา 10 บาทแล้วคุณคิดว่าราคาเหมาะสม 20 บาทถ้ามันขึ้นมาวันเดียว 1 บาทหรือ 10% คุณก็ยังซื้อถูกไหม
หลายคนชอบคิดว่าซื้อตอนขึ้นแรงๆแล้วไม่ value แต่ผมว่ามันคนละประเด็น ผมว่าในตอนนั้นแหละที่ตลาดโชว์ข้อมูลว่าหุ้นตัวนี้มี demand จริงๆ คุณไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ซึ่งกว่าตลาดจะให้มูลค่าในกรณีนั้นคุณอาจต้องรอนานมากทีเดียว ถ้าพอร์ตต้องการโตเร็วๆผมมองว่าของที่กำลังอยู่ในความสนใจของตลาดนั้นแหละที่ตอบโจทย์ได้ แต่หุ้นทุกตัวที่คุณเล่นคุณต้องมั่นใจพื้นฐานว่าดีจริงและยังต่ำกว่ามูลค่าด้วยนะครับ นี้เป็นกฎเหล็กครับ การฝึกฝนเรื่อง timing นอกจากการหัดดูกราฟ คุณต้องเข้าใจจิตวิทยาของการเล่นหุ้นเพิ่มมากขึ้นด้วยครับ
4. เท่าที่ได้อ่านเห็นว่า ฮงได้ร่ำเรียนจากอาจารย์หลายสำนักมากมาย คิดว่าแต่ละสาขามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และวิธีไหนดีที่สุด
ตามความเห็นของผมคิดว่า ไม่มีวิธีไหนที่เรียกว่าดีที่สุดนะครับ แต่ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจวิธีต่างๆว่ามันบอกอะไรกับเราบ้าง และมันตรงกับจริตของเราไหมในเรื่องความการรับความเสี่ยง การต้องการผลตอบแทน เวลาที่เรามีในการหาข้อมูลหรือติดตามราคาหุ้น ผมจะลองยกตัวอย่างเท่าที่ผมสัมผัสมาดังนี้
อย่างแรก หลักการ วีไอ
ผมคิดว่าข้อดีที่เห็นได้ชัดมากที่สุดของมันก็คือ ผมคิดว่ามันมีความเป็น common sense สูงมาก คำพูดที่ทำให้แนวทางนี้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างผมคิดว่าน่าจะเป็นคำว่า ซื้อหุ้นคือซื้อกิจการ ผมว่าคำนี้ทำให้เราสบายใจได้มากเลยว่า เราเข้าใจว่าเรากำลังเป็นเจ้าของอะไรอยู่ เอาง่ายๆนะครับ สมมุติว่าเรามีหุ้น a อยู่ในมือแล้วเราไปประชุมผู้ถือหุ้นมาแล้วหาข้อมูลมาแถบทุกแง่มุมว่าหุ้น a นั้นน่าจะมีราคาเหมาะสมมากกว่าราคาตลาด 100% เวลามันขึ้นมา 20% เราก็ไม่ขายถูกไหมครับ แต่ถ้าเราซื้อหุ้นเพียงเพราะซื้อตามคนอื่น หรือซื้อเองแต่ไม่เข้าใจว่าเรากำลังถืออะไรอยู่ ผมว่า 10% แรกเราก็ขายแล้วครับ
อันนี้เป็นข้อดีของแนวทางวีไอนะครับ ส่วนข้อเสียผมขอไม่พูดดีกว่าครับเพราะนี้คือเว็บวีไอ แฮ่ๆๆ
แนวทางต่อไป fundflow เนี้ย ผมคิดว่ามันก็มีข้อดีในมุมต่อไปนี้ครับ ก็คือว่า สมมุติว่าผมสนใจแต่ในแง่มุมของตัวธุรกิจของหุ้นที่ผมถือ แต่วันดีคืนดีตลาดแย่มากๆหุ้นของผมก็ลงไปด้วย ทั้งๆที่หุ้นของผมกำไรก็ไม่ได้แย่อะไร เหตุผลบางทีเป็นเรื่องของการโยกย้ายเม็ดเงินครับ คนที่เล่นแนววีไอเพียวๆอาจจะมองว่าเขาไม่สนใจปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่มีผิดหรือถูกครับ แต่ผมสนใจปัจจัยเรื่องเม็ดเงินด้วย เพราะว่า ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกอย่างนึงในการที่คนเอาเงินเข้ามาลงทุน
สมมุติว่า ดอกเบี้ยขึ้นมากๆ ตามหลักแล้ว valuation ของตลาดหุ้นในแง่ของ pe ควรจะต่ำลงเพราะว่า risk free rate สูงขึ้น ลองไปเข้า dcf model ดูก็ได้ครับ ในภาวะที่เงินชะงักอย่างช่วง subprime ก็สามารถทำให้ valuation ของหุ้นลดลงได้อย่างฉับพลัน ในขณะที่พอสภาพคล่องเยอะขึ้น เงินไม่มีที่ไป ก็เอามาเข้าสินทรัพย์เสี่ยงทำให้บางที หุ้นหรือ commodity บางอย่างก็มีราคาสูงขึ้น แต่ข้อเสียของวิชานี้ก็คือว่า มันไม่สามารถช่วยเราในแง่ stock selection ได้ครับ เม็ดเงินเข้ามาแล้วทำให้หุ้นตัวไหนน่าจะไป มันเพียงแต่บอกเราคร่าวๆในแง่ของสภาพคล่องมากกว่า และข้อเสียลำดับถัดมาคือว่า มันเป็นปัจจัยที่บางครั้งเราคาดการณ์ยากครับ เช่น เราคิดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นและตลาดจะตอบรับล่วงหน้าก่อนหลายเดือน แต่ปรากฏว่าเขาก็ไม่ขึ้นดอกเบี้ยซักที หุ้นก็ลงแบบย่อๆนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้ลงลึกลงแรงอะไร ทำให้ในบางครั้งเราจะพลาดโอกาสถ้าเราขายหุ้นดีๆออกไปครับ
สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยศึกษาเรื่อง fundflow เลย ให้ดู earning yield gap เป็นสำคัญครับ ตราบใดที่ % ไม่ต่ำมากเกินไปหุ้นก็ไม่น่ากลัวนักครับ และให้ดูตัวเลขเรื่องสภาพคล่องต่างๆในระบบคร่าวๆก็เพียงพอครับ อย่างวงจรดอกเบี้ยที่ต่ำขนาดนี้ ก็อย่าไปกลัวหุ้นมากจนเกินไปครับ
แนวทางที่สามเป็นแนวทางที่ผมได้เริ่มใช้มาไม่ถึงปี แต่ทำให้ผมได้ผลตอบแทนสูงมากกว่า 400% ในเวลา 9 เดือนที่ผ่านมานี้คือ แนวทาง technical + fundamental ที่มีสาขาหนึ่งเรียกว่า canslim รวมไปถึง trend following ซึ่งเป็นแนวทางที่อาจารย์ billy bremner ได้เป็นผู้ชี้ทางสว่างให้ผมครับ หลังจากได้อาจารย์ชี้ทาง ผมก็ดิ้นรนค้นคว้าหาหนังสือสารพัดสารพันมาอ่านนับสิบเล่ม และฝึกดูกราฟจนเป็นตัวผมในทุกวันนี้ครับ
ผมขอเล่าหลักการบางอย่างที่ผมศึกษาและได้เห็นมาจากคนรอบข้าง คือ พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องของวินัยในการเล่นหุ้น และจิตวิทยาการลงทุน และการบริหารความเสี่ยงน้อยเกินไป แต่เขามักให้ความสำคัญกับ stock selection เพียงสิ่งเดียวว่าแทบจะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของการเล่นหุ้น เราจะมาขยายความกันครับ
เรื่องแรกคือ เรื่องวินัยในการลงทุน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนระดับโลกเคยพูดเอาไว้
บัฟเฟตเคยพูดว่า
“THE TRICK IS, WHEN’S NOTHING TO DO, DO NOTHING”.
SOROS พูดว่า
“to be successful, you need leisure. You need time hanging heavily on your hands”.
ผมคิดว่า นักลงทุนระดับแนวหน้าจะมีเงื่อนไขที่ชัดเจนว่า เขาจะเข้าไปลงทุนเมื่อมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่นักลงทุนมือสมัครเล่นก็คือ ไม่มีเงื่อนไขที่ดีและชัดเจน ถึงจะมีแต่ก็อาจจะไม่ทำตามมัน ดังนั้น ต่อให้หลักการลงทุนของเขาดีแค่ไหน สุดท้ายแล้วพอตลาดเปลี่ยนทิศหรือเขาคิดผิด ด้วยความที่ไม่มีวินัยเขาก็จะต้องเจอกับการคืนเงินให้กับนายตลาด และในตอนนั้นพอร์ตของเขาก็มักจะใหญ่แล้วด้วย ทำให้บางทีไม่ได้แค่คืนกำไรแต่กินไปถึงทุน และนอกจากนี้ วินัยยังหมายถึงการที่เขาควรมี limit ในการขาดทุนที่ชัดเจน ไม่ใช่ขาดทุนแล้วรู้สึกว่าตัวเองคิดผิด เสีย ego ซัดเพิ่มดีกว่าอะไรแบบนี้
อย่าง เรื่องจิตวิทยาการลงทุน ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมากถึงมากที่สุด ผมเคยเจอกับคนสองคนที่นั่งเล่นหุ้นอยู่ในห้องค้าเดียวกันมานานหลายปี โดยสมัยก่อนพอร์ตของสองท่านนี้ใกล้เคียงกัน แต่เดี่ยวนี้พอร์ตของคนนึงใหญ่กว่ามากๆ
ผมถามว่ามันคืออะไร นั่งใกล้กัน ดูกราฟเดียวกัน ข่าวได้พร้อมๆกัน มันเป็นเรื่องของทัศนคติ เรื่องของการอดทน ในชีวิตของคนเราถ้าอยู่ในตลาดหุ้นนานพอคุณจะได้เจอกับ winner stock เสมอ แต่ถ้าคุณชอบขายหมู หรือทนเห็นหุ้นเหวี่ยงไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว คุณก็จะเอาหุ้น winner stock มาเล่นเสียของ ก็คือได้กำไรนิดเดียวแล้วก็ไป นั่นเป็นเพราะว่าจิตใจของคุณให้น้ำหนักกับความกลัวว่า กำไรที่คุณมีอยู่จะหายไปมากเกินไป สุดท้ายการกลัวกำไรหายมากเกินไป ก็ได้กันให้คุณไม่มีทางเป็นผู้ชนะในตลาดหุ้นได้อย่างหมดจด
หรือถ้าคุณคิดว่าหุ้นที่คุณถือดีจริงและคุณตั้งเป้าว่าจะขาดทุนได้ไม่เกิน 10% ถ้าเกินจะขายออก พอดีตลาดไม่ดีหุ้นของคุณก็เลยลงมา 5% จริงๆแล้วมันยังไม่ถึงจุดที่คุณจะตัดขาดทุนเลย แต่มันลงมาแล้วแช่อยู่ตรงนั้น 2 อาทิตย์คุณก็เลยเกิดความอึดอัดว่า ‘ห่วยว่ะหุ้นตัวนี้ไม่ดีจริงเห็นตัวแดงๆในพอร์ตแล้วไม่สบายใจขายไปดีกว่า’ พอขายเสร็จมันก็ขึ้น อันนี้คุณผิดพลาดจากทั้งไม่รักษาวินัยและจิตใจของคุณไม่หนักแน่มากพอ
อย่างเรื่องต่อมาที่ trader ชอบพูดกันคือ เรื่องของการบริหารความเสี่ยง หลายคนซื้อหุ้นแล้วไม่มีทางหนีทีไล่ ถูกก็รวยไปเลย ผิดก็ดับไปเลย แบบนี้ trader ชั้นนำบอกว่าเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าสิ่งที่ดีกว่าที่คุณควรจะคิดก็คือ ถ้าถูกก็รวยสุดๆไปเลย ถ้าผิดก็ยอมเจ็บนิดเดียว ห้ามมี scenario ว่าคุณจะเสียหายเยอะๆเด็ดขาด นี้เป็นกฎเหล็กที่พูดง่ายแต่น้อยคนที่จะทำ
หลายคนอยากรวยเร็วๆ ก็เลย take too high risk ต่อให้เขาชนะในครั้งนี้ แต่ในระยะยาวแล้วเมื่อพอร์ตเขาใหญ่ขึ้นพอพลาดหนักๆทีเดียว เขาก็แทบจะต้องนับหนึ่งใหม่หรือซวยกว่านั้นก็กินเงินต้นมาลึกๆ
หลังจากผมสรุปลักษณะของศาสตร์ต่างๆจบ ผมตั้งใจจะบอกว่า การเล่นหุ้นนั้นมันไม่ได้มีแค่ stock selection มันมีเรื่องของ money management, timing, psychology ซึ่งถ้าคุณอยากรวยมากๆจากตลาดหุ้น พอคิดว่าคุณจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นด้วยเหมือนกัน ซึ่งผมจะยกตัวอย่างว่า ผมผสมผสานหลักการพวกนี้อย่างไรเป็นตัวหุ้นจริงๆที่ทำให้ผมได้ผลตอบแทนสูงมากในปีนี้ครับ
5. ผลงานปีล่าสุด พอใจหรือไม่ เล่าประสบการณ์ตีแตกปีนี้ให้ฟังได้ไหม
– พอใจมากๆครับ ผมเองยังไม่เคยคิดมาก่อนว่าตัวเองจะได้ผลตอบแทนมากกว่า 400% ในเวลา 9 เดือนครับ
หุ้นที่ทำกำไรให้ผมได้สูงในปีนี้หลักๆสองตัวคือ vng และ ptl ครับ
Vng นี้เป็นหุ้นที่ผมเริ่มซื้อประมาณ 3 บาทถ้วนครับ ผมซื้อหลังจากผลประกอบการออกครับ ออกมาได้ประมาณ .26 ใน q4 2009 ครับ ตอนวันที่ออกมานี้หุ้นบวกไปประมาณ 20% ได้เลยครับ เล่นกันบ้าเลือดมาก ผมก็กลัวครับกลัวเข้าไปซื้อแล้วจะติดดอย แต่พอมาดูดีๆ กำไรไตรมาสเดียว .26 ถ้าคูณ 4 เข้าไปก็ได้ซัก 1 บาท สมัยก่อนตอน vng ทำกำไรได้ปีละ .55 สตางค์ หุ้นยังเคยเทรดเกือบ 6 บาทครับ แล้วถ้าผมคาดว่ากำไรน่าจะได้ 1 บาท ที่ 3 บาทผมจะกลัวอะไรล่ะครับ อิอิ แต่ผมไม่ได้จับกำไรมาคูณหยาบๆหรอกนะครับ ผมเช็กมาว่าเขามีการเพิ่มกำลังการผลิตไม้ชนิด mdf เยอะครับซึ่งเป็นสินค้าที่มี margin สูงกว่า pb พอสมควร และกำลังที่เพิ่มก็มาจาก order ที่เข้ามาหลังจากเศรษฐกิจฟื้น ตัวที่ดูเป็นกำไร qoq ก็จะเห็นว่าจากขาดทุนเยอะเป็นกำไรนิดหน่อย และกำไรมาปูดเอาตอน q4 2009 ครับ ผมดูๆแล้วยังไงก็คิดว่าคงไม่แพ้แน่ฟะ ก็เลยซัดไปตัวเดียว 70% ของพอร์ตที่ทุนประมาณ 3 บาท ก่อนประกาศจ่ายปันผล 9 สตางค์ ถือไว้ 3 เดือนกว่าๆผมก็ขายไปที่ 5 บาท คือนิสัยผมจะชอบขายหุ้นตอนมันลงแบบมีวอลุ่ม ผมเห็นวันนั้นหุ้นลงวันเดียวเกือบ 10% โดยที่วอลุ่มเยอะมาก ตอนกลางคืนผมก็นั่งคิดนอนคิดว่าผมจะเอาไงดี แต่ผมคิดว่าหุ้นอาจเปลี่ยนเทรนก็ได้
บวกกลับถือเยอะมาก และก็ได้กำไรเยอะแล้ว และตอนนั้นก็มีหุ้นหลายตัวที่ผมคิดว่ายังถูกอยู่ และถือแล้วไม่เสียวมากด้วย อีกเหตุผลนึงที่ผมขาย vng ที่ 5 บาทเพราะว่า กำไรในไตรมาส 1/53 ได้ต่ำกว่าที่ผมคิดเอาไว้ ประมาณ 20-25% แต่หุ้นก็ยังขึ้นมาจากวันที่ประกาศผลประกอบการพอสมควร พอมันลงแรงๆแล้วยังมีหุ้นตัวอื่นที่น่าสนใจ ผมก็เลยขายออกไปทั้งหมดประมาณ 4.94-5 บาทในวันรุ่งขึ้น ถึงแม้ vng จะขึ้นต่อ แต่ผมก็คิดว่ามันทั้งกำไรต่ำกว่าคาดและโดนทิ้งแบบโหดๆ ก็เลยไม่เป็นไรเอาเงินไปเล่นตัวอื่นก็ยังกำไร อิอิ
ส่วนอีกตัวที่ทำเงินให้ผมเยอะมากๆคือ ptl ครับ ตัวนี้ผมทุนเดิมเลยคือ 7.5 ครับ ตอนนั้นเห็นกำไรไตรมาส 4 ของปี 2009 สูงครับ สูงทั้งๆที่ spread ค่อนข้างจะต่ำครับ ในตอนแรกผมคิดว่า ptl จะมีกำไรต่อหุ้นในปีนี้ซักประมาณ 1.75 ครับ ก็คิดว่าปันผลซัก 40% ต้นทุน ผมก็ได้ผลตอบแทนไม่เลวเลยทีเดียวครับ ประกอบกับบริษัทมี pe ที่ถูกและเป็นบริษัทที่ใหญ่มาก และมี economy of scale สูงครับ ตอน 7.5 ผมก็ซื้อไปประมาณ 40% ของพอร์ตครับ แล้วก็คิดว่าถ้าเกิน 13 บาทจะขายครับ แต่ปรากฏว่าตอนงบไตรมาสหนึ่งประกาศผมเห็นกำไร 0.52 ต่อไตรมาส ก็เลยคิดว่ามันดีกว่าที่คิดเอาไว้เยอะมาก ผมก็เลยคิดว่างี้ไม่ขายแล้วที่ 13 บาท ปรากฏว่าตอนหุ้นขึ้นมาประมาณ 15.4 แล้วลงไปเหลือ 13.1 ช่วงนั้นผมได้ทำประมาณการกำไรใหม่แล้วรู้สึกว่าที่ราคาแถวๆ 13-15 ยังถูก ผมเลยค่อยๆขายหุ้นตัวอื่นมาซื้อ ptl เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ และซื้อเยอะๆตอนที่ราคาหุ้นทะลุ cup handle ซื้อจนถือหุ้นตัวนี้ตัวเดียวในพอร์ต+มาร์จิ้นเล็กน้อยครับ และพอได้ ee เพิ่มผมก็ซื้อเพิ่มตลอดทางในสัดส่วนที่ผมคำนวณว่าไม่เสี่ยงเกินไปต่อการโดน forced sell ครับ
ผมเล่าเรื่องนี้เพราะผมจะสื่อว่า ถ้าผมยึดติดว่าหุ้นมาจากกี่บาท ผมก็จะไม่อยากซื้อเพิ่ม เพราะผมไม่อยากให้ทุนของผมขยับ แต่จริงๆแล้วผมขอบอกว่าผมไม่เคยสนใจต้นทุนเลยครับ หลายคนไม่กล้าซื้อหุ้นเพิ่มเพียงเพราะว่ามันราคาขึ้นเพราะเขากลัวว่าทุนของเขาจะเพิ่ม แต่ผมไม่คิดแบบนั้น ผมคิดว่า ถ้าทุนคุณต่ำแต่คุณมีหุ้นตัวที่ขึ้นเยอะที่สุดเพียงแค่ 10% ภาพรวมของผลตอบแทนทั้งพอร์ตคุณอาจไม่สูง ในทางกลับกับถ้าคุณซื้อหุ้นแล้วหุ้นลง คุณจะอยากซื้อเพิ่ม เพราะว่ามันทำให้ทุนคุณต่ำกว่าตอนแรก แต่จริงๆแล้วการซื้อในตอนนั้นมันแสดงว่าคุณขาดทุนมาก่อน แล้วคุณก็เพิ่มน้ำหนักให้มันมากขึ้นไปอีก เพราะคุณคิดว่าสุดท้ายมันต้องกลับมาอะไรทำนองนี้
ดังนั้น ผมไม่เคยนับต้นทุนหุ้นในพอร์ตเลย ผมรู้แต่ว่าพอร์ตของผมในแง่ของเงินลงทุนทั้งก้อนที่ลงไปในตลาดตอนนี้โตกี่ % ผมคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นที่สะท้อนภาพที่แท้จริงของพอร์ต
ถ้าอยากได้ผลตอบแทนขนาดนี้ มีมุมมองอย่างไรกับการใช้มาร์จิ้นครับ?
เรื่องมาร์จิ้น ผมไม่ขอสนับสนุนให้ทุกคนเล่นมาร์จิ้น เพียงเพราะต้องการได้ผลตอบแทนเยอะๆ ผมคิดว่าการเล่นมาร์จิ้นเหมาะกับคนที่เชี่ยวชาญในเรื่อง timing และพร้อมที่จะ cutloss ตลอดเวลา แต่ไม่เหมาะสำหรับคนทั่วไปหรือวีไอที่หุ้นลงก็ซื้อเพิ่ม การเล่นมาร์จิ้นนั้นต้องมีวินัยสูงมาก และถ้าให้ดีควรดูกราฟเป็นหรือมีระบบการเทรดที่รองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันเอาไว้อย่างดี และประกอบกับตลาดในช่วง 2 ปีนี้เป็นขาขึ้น จากแรงผลักดันทางด้านสภาพคล่อง ทำให้นับเป็นนาทีทองแห่งการโกยเงิน แต่หลังจากนี้ตลาดคงจะไม่สดใสเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ผมอยากฝากไปถึงทุกคนที่คิดจะใช้มาร์จิ้นว่า ให้ระวังให้ดีถ้าท่านคิดที่จะมาเปิดบัญชีมาร์จิ้นเอาตอนนี้ อย่าปล่อยให้ความโลภครอบงำจิืตใจ
6. เคยลงทุนผิดแนวหรือไม่ มีประสบการณ์ที่ผิดพลาดบ้างหรือไม่
– ผมเคยได้ประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากการไม่รักษาวินัยในการลงทุน ผมเคยซื้อหุ้นอิเล็กโทรนิคบางตัวที่ราคาวิ่งขึ้นมาเร็วมาก และผมคิดว่ากำไรมันน่าจะโตต่อไปได้อีกเยอะ แต่จริงๆแล้วผมซื้อหุ้นผิดจังหวะ ผมซื้อตอนที่ราคาวิ่งเร็วมากและยังไม่ได้พักเลย ผมก็ซัดเข้าไปเลย 70% ของพอร์ต ปรากฏว่าช่วงที่มีเคอฟิวและตอนนั้นตลาดหุ้น dowjone และ Europe น่ากลัวมากๆ หุ้นตัวนี้ส่งออกไปต่างประเทศเยอะ ผมเลยตัดใจขาย ปรากฏว่าขายที่เกือบ bottom ของรอบนั้น พอหุ้นขึ้นมาอีกรอบผมเพิ่งได้สติว่า เฮ้ย ลงแล้วเด้งได้ตัวแรกๆแบบนี้ของดีจริงนี้ เลยกลับไปซื้อแพงขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้สุดท้ายจะได้กำไรจากหุ้นตัวนี้ แต่ผมก็ขาดทุนกับอะไรที่ผมคิดว่ามันไม่ควรจะเกิดขึ้น ถ้าผมซื้อไม่ทันผมก็ควรปล่อยมันไปหรือทยอยซื้อ แต่ผมโลภ ผมคิดว่ามันจะขึ้นต่อเร็วๆ ผมเลยอัดเข้าไปเปรี๊ยงเดียวเลย 70% ของพอร์ต พอลงก็กลัวแบบไม่มีสติ พอขึ้นค่อยได้สติกลับมาซื้อแพงใหม่ 5555
7. งานอดิเรก, ปัจจุบันเฝ้าหน้าจอบ่อยไหม, อ่านหนังสือการลงทุนบ่อยแค่ไหน
– งานอดิเรกคือการเล่น twitter ครับ แต่ก่อนผมเขียน blog เยอะ แต่หลังๆเริ่มรู้สึกอยากได้สังคมใหม่ๆก็พบว่าการเล่น twitter นี้ช่วยทำให้ผมรู้สึกเพลิดเพลินมากครับ เวลาเล่นผมชอบถ่ายรูปของกินไปลงครับ ผมมีความสุขที่ได้ทำให้คนที่ยังไม่ได้กินข้าวกลางวันและข้าวเย็นเห็นกับข้าวน่ากินที่ผมถ่ายรูปมาแล้วท้องร้องครับ ในทวิสของผมช่วงแรกๆผมเขียนเรื่องการลงทุนเยอะมากทีเดียวนะครับ แต่หลังๆนี้เรื่องกินเที่ยวเริ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับการลงทุนครับ อิอิ
ส่วนคำถามเรื่องเฝ้าหน้าจอขอตอบว่า ไม่ค่อยเฝ้านะครับ ช่วงหลังๆนี้วันธรรมดาบางวัน 5 วัน อยู่บ้านแค่วันเดียวครับที่เหลือก็เป็นผู้ชายลั้นล้า ออกไปท่องเที่ยว กินๆๆ อย่างเดียวเลยครับ
เรื่องหนังสือการลงทุนผมอ่านหนังสือแนว trader เยอะมากครับในช่วงครึ่งปีหลังมานี้อ่านเป็น 10 เล่มครับ เล่มที่ชอบมากที่สุดน่าจะเป็น trend following ครับ นอกจากนี้ก็ยังอ่านหนังสือเกี่ยวกับการใช้ระบบเทรด หรือที่เรียกกันว่า trading system ครับ
พออ่านดูแล้วพบว่า นักลงทุนควรจะเข้าใจเรื่อง ความน่าจะเป็น เรื่องวินัย และจิตใจ ให้มากขึ้นครับ ไม่เว้นแม้แต่แนวทางวีไอครับ
ที่มา : Thai VI
ติดตามพี่ Hongvalue ได้ที่
http://hongvalue.wordpress.com/
หนังสือของพี่ฮงครับ