ก่อนจะถึงยุคของ William O’Neil และ Nicolas Darvas นั้น ‘Jesse Livermore’ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดนักเก็งกำไรในสมัยนั้น เขาทำกำไรกว่า 100 ล้านดอลลาร์ จากการ Short ดัชนีในช่วงวิกฤตปี 1929 ซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเงินจำนวนมหาศาล (84 ปีที่แล้ว)
แม้ว่าเขาจะทำเงินล้านได้บ่อยครั้ง แต่ก็ขาดทุนเป็นล้านอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน อย่างไรก็ดี เขาถือเป็นปรมาจารย์แห่งการเก็งกำไรอย่างแท้จริง ฉะนั้นแล้วจึงเป็นการดีที่พวกเราควรจะนั่งลงและตั้งใจฟังกฏการลงทุนอันสุดแสนสำคัญที่ตัวเขาได้ใช้มาโดยตลอด
กฎการลงทุนของ ‘Jesse Livermore’
1. ซื้อหุ้นที่กำลังเป็นขาขึ้น และขายหุ้นที่กำลังเป็นขาลง
2. อย่าเทรดทุกวัน จงเข้าเทรดเมื่อตลาดหรือหุ้นเริ่มแสดงความชัดเจนว่าอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง และเทรดไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดเท่านั้น
3. ใช้จุดวกกลับ หรือจุดกลับเทรนด์ (pivot points) ควบคู่ไปกับการเทรดของคุณเสมอ
A Livermore ‘pivot point’ is the moment in the trend if price action fails to support the current trend, then the trend will most likely be judged to be over.
4. เข้าเทรด หลังจากที่ตลาดหรือราคาหุ้นได้ยืนยันความคิดของคุณ และควรลงมืออย่างรวดเร็ว
5. การเทรดที่ได้กำไรให้ทำต่อไป ยุติการเทรดที่มีผลขาดทุน (Cut Losses Short)
6. ปิดการเทรดเมื่อเห็นชัดเจนว่า หุ้นที่คุณกำลังได้กำไรอยู่ เริ่มถึงจุดเปลี่ยนเทรนด์แล้ว
7. ไม่ว่าจะเทรดในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม จงเลือกหุ้นนำตลาด (leading stock) – หุ้นที่แสดงให้เห็นเทรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุด
8. อย่าถัวเฉลี่ยหุ้นที่ขาดทุน (Never average losses)
9. อย่ารอจนถึง margin call – จงออกจากการเทรดนั้นเสียก่อน
10. Long เมื่อหุ้นทำ new high และ Short เมื่อหุ้นทำ new low
…
Livermore ได้เขียนหนังสือ “How to Trade In Stocks” ซึ่ง O’Neil ได้แนะนำว่าให้ทุกคนที่สนใจลงทุนในตลาดหุ้นควรอ่านเสียก่อน
เรามักได้ยินว่า Livermore สามารถทำกำไรก้อนโตในตลาดได้อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม เขาก็มักจะขาดทุนอย่างหนัก บางครั้งก็ถึงขั้นล้มละลาย ก่อนที่จะสามารถทำกำไรก้อนโตกลับมาได้อีกครั้ง
ดังนั้น ถึงแม้ว่า Livermore จะเป็นผู้บุกเบิกหลักการ Trend following แต่จุดอ่อนที่สำคัญของเขาก็คือ ‘การบริหารความเสี่ยง’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของความเข้าใจเกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่จะขาดทุนหนัก ถ้าหากเสี่ยงทุ่มเงินจำนวนมากลงไปในการเทรดแต่ละครั้ง
เขาจึงเป็นหลักฐานที่(เคย)มีชีวิตสำหรับนักลงทุนรุ่นหลังทุกคนว่า หากคุณไม่ให้ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ในที่สุดแล้ว คุณก็จะต้องเจ็บตัวหนัก หรืออาจจะหมดตัวล้มละลายในตลาด จากการขาดทุนหนักติดต่อกันหลายครั้ง หรือเพียงแค่ขาดทุนมหาศาลเพียงครั้งเดียว…
…
‘กฎการลงทุนของ ‘Jesse Livermore’’
โดย Phantorm
www.sarut-homesite.net
1 เมษายน 2013